การทำงานแบบ 3 มิติใน AutoCAD เกิดจากการประสานการทำงานระหว่าง ระบบแกน(Axis) ระบบพิกัด(Co ordinate System) และมุมมองชิ้นงาน(Viewpoint) ผู้ใช้ต้องเข้าใจสามเรื่องนี้ เบื้องต้น เพื่อสั่งการทำงานได้ถูกต้อง
เคยกล่าวถึง ระบบแกนและการเปลี่ยนมุมมองมาแล้วในบทก่อนๆ ตอนนี่มาถึงเรื่องของ ระบบพิกัด(Co ordinate System) กันบ้าง คำว่า พิกัด หมายถึงการบอกตำแหน่ง หรือจุด ใดๆที่เกิดจากการตัดกันของแกน ใน AutoCAD แสดงด้วยค่า x,y (2 มิติ) และ x,y,z (3 มิติ) หรือเรียกว่า พิกัดคาร์ทีเชียน
โปรแกรมจะเริ่มการลากเส้นหรือรูปร่างจาก พิกัดเริ่มต้น ไปยังพิกัดต่อไปเรื่อยๆ จนเสร็จ การระบุความยาว หรือระยะทางของเส้น ทำแบบต่อจากจุดเริ่มต้น เรียกว่า offset world (@) เช่น เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ 10,0 (x=10,y=0)เพราะแกนในแนวนอนคือแกน X แล้ว enter จบคำสั่ง ก็จะได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย
นอกจาก AutoCAD ยังใช้ ระบบพิกัดแบบโพลาร์ ช่วยในการสร้างงานอีกด้วย ระบบพิกัดแบบนี้พูดง่ายๆคือการใช้มุมองศาเป็นผู้ช่วยกำหนดทิศทาง โดยมุมองศาจะเพิ่มขึ้นในทิศทวนเข็มนาฬิกาตามรูป

ระบบพิกัดเชิงขั้ว
ตัวอย่าง การระบุพิกัดแบบนี้ เช่น เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ 10<0 (x=10,0 องศา)เพราะแกนในแนวนอนทำมุม 0 องศาแล้ว enter จบคำสั่ง ก็จะได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย
ถ้าเราต้องการสร้างสีเหลี่ยมขนาด 10 x 20 หน่วย ด้วยเส้นตรงล่ะต้องทำอย่างไร
เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ @10<0 (x=10,0 องศา)ได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย ต่อด้วย ลากเส้นต่อไปในแนวตั้ง ยาว 20 หน่วย คือ @20<270 (y=20,270 องศา)ได้เส้นตรงแนวตั้งยาว 20 หน่วย
จากนั้นลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ @10<180 (x=10,180 องศา)ได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วยไปทางด้านซ้าย และลากเส้นต่อไปในแนวตั้ง ยาว 20 หน่วย คือ @20<90 (y=20,90 องศา)ได้เส้นตรงแนวตั้งยาว 20 หน่วย ก็จะได้รูปสี่เหลี่ยมปิด ขนาด 10 x 20 หน่วย
ติดตามตอน 2 ครับ

You must be logged in to post a comment.