หากต้องการแสดงผลงานเป็นภาพ Isometric ทำได้อย่างไร หาคำตอบได้จากคลิปนี้ครับ

การหมุน UCS ด้วยคำสั่ง UCS / 3 point ใช้เมื่อต้องการสร้างชิ้นงานบนด้านเอียงหรือระนาบเอียงที่ไม่ทราบว่ามีมุมเอียงเท่าไหร่ หลักการของ 3point หรือ 3 จุด คือ
จุดที่ 1 เป็นจุด Origin จุดที่ 2 เป็นจุด ทิศทางของแกน X
จุดที่ 3 เป็นจุด ทิศทางของแกน Y
คลิกเพื่อดูวีดิโอได้เลยครับ
ทดลองใช้เครื่องมือพื้นฐาน Sketch Up2019 ขึ้นโมเดลง่ายๆทำตามขั้นตอนได้เลยครับ
ดาวน์โหลด โมเดล Table Guard ขนาด 40 x 60 c.m. เพื่อใช้สั่งผลิตฉากกั้นโต๊ะอาหาร เพิ่มความปลอดภัยจาก โควิด 19
นายณัฏฐกฤษฏ์ ศุภกรพินธคุปต์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ วรรักษา ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ Architectural Engineering & Construction บริษัท แอพพลิแคด จำกัด ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการศึกษาทางด้าน BIM ณ ห้องประชุมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เมื่อเร็วๆ นี้
บันทึกการลงนามในข้อตกลง (MOU:Memorandum Of Understanding) นี้มีขึ้นระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กับบริษัท แอพพลิแคด จำกัด โดยมี นายณัฏฐกฤษฏ์ ศุภกรพินธคุปต์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ วรรักษา ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ Architectural Engineering & Construction บริษัท แอพพลิแคด จำกัด ร่วมลงนาม ซึ่งมีกำหนดระยะเวลา 2 ปี โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) มีวัตุประสงค์ที่จะผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้านสถาปัตยกรรม อันได้แก่ สถาปนิก นักออกบบสถาปัตยกรรมภายใน นักผังเมือง นักออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม และนักเทคโนโลยีในงานที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมที่มีความชำนาญด้านวิชาชีพ สามารถนำไปประยุกต์ให้ใช้ในการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานสากล และกระจายโอกาสทางการศึกษาด้านสถาปัตยกรรม ในการพัฒนาประเทศและสังคม ในการพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์นั้น ทางคณะฯ หมายมุ่งที่จะพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ และตามความต้องการกำลังคน โดยได้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) เป็นอย่างดี เนื่องจากในปัจจุบัน BIM เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญที่จะช่วยให้บุคลากรมีความสามารถในการแข่งขันได้ เพราะเป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาตามความต้องการของนักออกแบบ นักบริหารโครงการฯ ผู้ควบคุมงาน อสังหาริมทรัพย์ ผู้รับเหมาก่อสร้าง หน่วยงานราชการ ผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาคาร และการก่อสร้าง
ทั้งนี้กิจกรรมความร่วมมือกันนั้น บริษัท แอพพลิแคด จำกัด (AppliCAD Co.,Ltd.) จะให้การสนับสนุนลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ArchiCAD ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นอุตสาหกรรม BIM ตัวแรกในทางสถาปนิก พัฒนาโดย GRAPHISOFT เพื่อให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนเป็นระยะไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยดำเนินการให้มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ และนำเสนอเทคโนโลยีทางด้าน BIM แก่บุคลากรของคณะ นิสิตนักศึกษา และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และความชำนาญเฉพาะทางวิชาชีพ เพื่อปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเอื้อประโยชน์ต่อการประกอบวิชาชีพแก่นักศึกษา ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับโอกาสในการเลือกทำงานในสถานประกอบการที่ดี ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมบุคลากรที่มีทักษะเฉพาะทางในการรองรับการขยายตัวสำหรับภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทยอีกด้วย อนึ่ง ปัจจุบันเทคโนโลยี BIM เข้ามามีบทบาทสำคัญในกระบวนการออกแบบก่อสร้างมากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก
สนใจ ArchiCAD BIM ดาวน์โหลดไปทดลองใช้ได้ฟรี!! ที่ http://tiny.cc/8aabzy
บริษัท แอพพลิแคด จำกัด เชิญร่วมงานสัมมนา “Sketch Up User Conference 2018” เพื่อการเรียนรู้และต่อยอดการออกแบบสำหรับผู้ใช้งาน SketchUp ทั้งงานด้านสถาปัตยกรรม และงานก่อสร้าง เพื่ออัพเดต แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ด้านการใช้ Sketch Up ในวันพุธ ที่ 10 ตุลาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 13.30-16.30 น. ณ ภิรัชทาวเวอร์ ห้อง Silk 1-2 ไบเทค บางนา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 02-744-9045 #106 หรือ 095-365-6866 คลิกลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ฟรี!! ได้ที่ลิงค์ https://www.applicadthai.com/seminar/sketchup-conference/?ref=wilaiphan-cadcomnet
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2561 ณ ห้องประชุมชั้น 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายวิรัช ปัณฑ์ศิริวิโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสถาบันการศึกษา บริษัท แอพพลิแคด จำกัด และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชูพงษ์ ทองคำสมุทร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการศึกษาทางด้าน BIM พร้อมกับบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เรียน BIM ไปทำไม” ให้กับคณาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบ ชั้นปีที่ 2
บันทึกข้อตกลงนี้มีกำหนดระยะเวลา 3 ปี โดยที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตที่ช่วยสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทั้งนี้ทางคณะฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) เทคโนโลยีในการจำลองรายละเอียดข้อมูลอาคาร เป็นอย่างดี เนื่องจากในปัจจุบัน BIM เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญที่จะช่วยให้บัณฑิตมีความสามารถในการแข่งขันได้ เพราะเป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาตามความต้องการของนักออกแบบ นักบริหารโครงการฯ ผู้ควบคุมงาน อสังหาริมทรัพย์ ผู้รับเหมาก่อสร้าง หน่วยงานราชการ ผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาคาร และการก่อสร้าง
ส่วนกิจกรรมความร่วมมือกันนั้น บริษัท แอพพลิแคด จำกัด จะให้การสนับสนุนลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ArchiCAD เพื่อให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยขอนแก่นใช้ในการเรียนการสอน เป็นระยะไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยดำเนินการให้มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ และนำเสนอเทคโนโลยีทางด้าน BIM แก่บุคลากรของคณะ และนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และความชำนาญเฉพาะทางวิชาชีพ เพื่อปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเอื้อประโยชน์ต่อการประกอบวิชาชีพแก่นักศึกษา ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับโอกาสในการเลือกทำงานในสถานประกอบการที่ดี ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมบุคลากรที่มีทักษะเฉพาะทางในการรองรับการขยายตัวสำหรับภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทยอีกด้วย
การใช้งานมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้คุณสามารถออกแบบสำเร็จได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การไฮไลต์เอนทิตีและวางลงในเลเยอร์ที่ใช้งานอยู่มีสองคุณลักษณะใน DraftSight Professional ที่สามารถเร่งกระบวนการของคุณได้อย่างมาก สิ่งเหล่านี้ช่วยให้คุณสามารถดูได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำว่าจะเลือกเอนทิตีใดและวางเอนทิตีไว้ในเลเยอร์ที่ใช้งานอยู่โดยไม่คำนึงถึงคุณสมบัติดั้งเดิม
ด้วยราคาและคุณสมบัติที่โดดเด่น ลองหันมาใช้ Draftsight ทดแทนโปรแกรมที่ใช้อยู่ เป็นการตัดสินใจที่คุ้มค่าแน่นอน
คลิกดู Feature ใหม่ของ Draftsight
หากต้องการทราบพิกัด (Co-Ordinate) ของจุด(point) บน Shape 2D หรือ Form 3D ให้ใช้คำสั่ง ID (Command:ID)
มีขั้นตอนในการใช้คำสั่งดังนี้
ตัวอย่างเช่น มี Rectangle shape 2D ดังรูป ต้องการทราบพิกัดของมุมล่างซ้าย ว่าเป็นเท่าไหร่ ให้พิมพ์คำสั่ง ID ลงใน command
หลังจาก Enter เพื่อใช้คำสั่งแล้ว ให้เลือกจุดที่ต้องการ เพื่อความแม่นยำควรใช้ Osnap ร่วมด้วย(เช่น Endpoint)
เมื่อคลิกเลือกจุดแล้ว ACAD จะแสดงพิกัด X,Y,Z ทันที ดังรูป
กรณีที่เป็น shape 2D ค่าพิกัด Z =0 เพราะไม่มีค่าความสูง หากเป็น form 3D ก็จะใช้คำสั่งเป็นขั้นตอนเดียวกัน และ ACAD จะแสดงพิกัด X,Y,Z ที่ต้องการ
You must be logged in to post a comment.