10.8.2021- งานประจำปีด้านเทคโนโลยี BIM ของคนวงการก่อสร้าง ไม่ควรพลาดพบกับการปรับทัพยกระดับงานก่อสร้างยุคใหม่ด้วย BIM Innovation และร่วมเจาะลึกทิศทางการเติมโตของ BIM ในอาเซียนโดยตัวแทนจาก GRAPHISOFT
เริ่มเวลา 13.00 – 16.30

10.8.2021- งานประจำปีด้านเทคโนโลยี BIM ของคนวงการก่อสร้าง ไม่ควรพลาดพบกับการปรับทัพยกระดับงานก่อสร้างยุคใหม่ด้วย BIM Innovation และร่วมเจาะลึกทิศทางการเติมโตของ BIM ในอาเซียนโดยตัวแทนจาก GRAPHISOFT
เริ่มเวลา 13.00 – 16.30
การหมุน UCS ด้วยคำสั่ง UCS / 3 point ใช้เมื่อต้องการสร้างชิ้นงานบนด้านเอียงหรือระนาบเอียงที่ไม่ทราบว่ามีมุมเอียงเท่าไหร่ หลักการของ 3point หรือ 3 จุด คือ
จุดที่ 1 เป็นจุด Origin จุดที่ 2 เป็นจุด ทิศทางของแกน X
จุดที่ 3 เป็นจุด ทิศทางของแกน Y
คลิกเพื่อดูวีดิโอได้เลยครับ
หากต้องการทราบพิกัด (Co-Ordinate) ของจุด(point) บน Shape 2D หรือ Form 3D ให้ใช้คำสั่ง ID (Command:ID)
มีขั้นตอนในการใช้คำสั่งดังนี้
ตัวอย่างเช่น มี Rectangle shape 2D ดังรูป ต้องการทราบพิกัดของมุมล่างซ้าย ว่าเป็นเท่าไหร่ ให้พิมพ์คำสั่ง ID ลงใน command
หลังจาก Enter เพื่อใช้คำสั่งแล้ว ให้เลือกจุดที่ต้องการ เพื่อความแม่นยำควรใช้ Osnap ร่วมด้วย(เช่น Endpoint)
เมื่อคลิกเลือกจุดแล้ว ACAD จะแสดงพิกัด X,Y,Z ทันที ดังรูป
กรณีที่เป็น shape 2D ค่าพิกัด Z =0 เพราะไม่มีค่าความสูง หากเป็น form 3D ก็จะใช้คำสั่งเป็นขั้นตอนเดียวกัน และ ACAD จะแสดงพิกัด X,Y,Z ที่ต้องการ
https://www.facebook.com/cadcom
line id : cadcoms
จากเรื่อง ระบบพิกัด AutoCAD 2 ที่ผ่านมาผมขอขยายความเพื่อให้เข้าใจหลักการทำงาน และมาลองนำไปใช้ในการสร้างงานกันดูครับ
เราจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พิกัด 3 มิติแบบ ทรงกลม (Spherical Co-ordinate System) ระบุตำแหน่งโดย ระยะทางจากจุดกำเนิดของ UCS ปัจจุบันมุมจากแกน X ในระนาบ XY และมุมจากระนาบ XY
พิกัด 3 มิติแบบ ทรงกลม คล้ายกับพิกัด polar ในแบบ 2D คุณหาจุดโดยการระบุระยะห่างจากจุดเริ่มต้นของ UCS ปัจจุบันมุมจากแกน X (ในระนาบ XY) และมุมของมันจากระนาบ XY แต่ละมุมก่อนหน้าด้วยวงเล็บมุมเปิด (<) เช่นใน รูปแบบต่อไปนี้:
ในรูปประกอบด้านบน จุด 8 <60 <30 หมายถึงจุด 8 หน่วยจากจุดเริ่มต้นของ UCS ปัจจุบันในระนาบ XY 60 องศาจากแกน X ในระนาบ XY และ 30 องศาขึ้นแกน Z จากระนาบ XY ส่วนจุด 5 <45 <15 หมายถึงจุด 5 หน่วยจากจุดกำเนิด 45 องศาจากแกน X ในระนาบ XY และ 15 องศาจากระนาบ XY
หากเราต้องการสร้างพื้นผิวแบบ region เพื่อสร้างหลังคา 3 มิติ ขึ้นมาจะมีขั้นตอนดังนี้
ก่อนอื่นปรับมุมมองเป็น Isometric เพื่อให้สามารถเห็นแกน Z ผมเลือก SE Isometric แล้วสร้างรูป สีเหลี่ยมผืนผ้าด้วยคำสั่ง Line ดังรูป
จากนั้นก็สร้าง Line เริ่มต่อจาก endpoint ของรูปเหลี่ยม ให้จุดปลายเส้นอยู่ที่พิกัด @300<45<45 จะได้เส้นเอียงเข้าด้านในสี่เหลี่ยม ทำมุม 45 องศากับระนาบ XY ดังรูป
ให้สร้าง Line เริ่มต่อจาก endpoint ของรูปเหลี่ยมอีกด้านหนึ่ง ให้จุดปลายเส้นอยู่ที่พิกัด @300<135<45 จะได้เส้นเอียงเข้าด้านในสี่เหลี่ยม ทำมุม 45 องศากับระนาบ XY ดังรูป
ให้สังเกตว่า endpoint ของทั้งสองเส้นที่เอียงเข้าหากันจะอยู่ระนาบเดียวกัน
ให้ลาก Line ต่อ endpoint ทั้งสองเข้าด้วยกัน เป็นรูปปิด จะได้กรอบด้านเอียงข้างหนึ่งของหลังคานี้
เนื่องจากหลังคามีความสมมาตรกัน เราจึงใช้คำสั่ง mirror เพื่อทำงานเพิ่มได้เลยโดยไม่ต้องลากเส้นอีกโดยเลือก mirror line ให้อยู่กึ่งกลางของด้านยาว
จากนั้นสร้าง line เพื่อให้เกิดเป็นรูปปิดดังรูป
เพื่อให้เกิดพื้นผิวระนาบหลังคาที่สมบูรณ์ ใช้คำสั่ง region สร้างระนาบให้ครบทุกด้าน
ผลงานที่ได้จะสามารถนำไปประกอบการทำงาน 3มิติ ได้ต่อไป ลองฝึกการกำหนดพิกัดแบบ Spherical ดูเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยจะทำให้เราสามารถสร้างงานที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ครับ
สำหรับ Auto Cad Tips ตอนนี้ เป็นเทคนิคการปรับ UCS กรณีที่ต้องการสร้างงานบนระนาบเอียง ในลักษณะวางตัวแนวเดียวกับระนาบเอียง แทนที่จะตั้งฉาก ตัวอย่างเช่น มีชิ้น solids ด้านหนึ่งเอียงดังรูป โดยค่าเริ่มต้นเป็น UCS / World
ดังนั้นหากจะปรับให้ UCS ไปฃนานกับระนาบเอียงจึงต้องใช้คำสั่ง UCS/Z Axis ในกลุ่มเครื่องมือ UCS ดังรูป
คำสั่ง UCS/Z Axis มีฃั้นตอนการทำงานดังนี้ หลังจากเลือกคำสั่งแล้ว Auto CAD จะให้เรากำหนดจุดเริ่มต้น(Origin) ให้เลือกที่ endpoint มุมล่างฃองระนาบ ตำแหน่ง 1 ตามรูป
UCS Icon จะมาเริ่มที่จุดนี้ จากนั้นให้เรากำหนดจุดปลายฃอง Z axis (Z Axis point) คือ ตำแหน่ง 2 ตามรูปแล้ว UCS จะมาวางตัวฃนานกับระนาบดังรูป ลองหมุน( Orbit) เพื่อเปลี่ยนมุมมองมาทางด้านฃ้าง จะเห็นการวางตัวฃอง UCS Icon ตามรูป
สร้างวงกลมบริเวณ midpoint ด้านยาวฃองชิ้นงาน จะเห็นว่าหน้าตัดวงกลมเอียงทำมุมฉากกับระนาบเอียง เป็นเพราะแนว แกน Z มุมเท่ากับด้านเอียงฃองชิ้นงาน ดังรูป
จากนั้นใช้คำสั่ง extrude เพื่อสร้างชิ้นงาน solids ทรงกระบอกตามแนวระนาบเอียงนั้นเพื่อทำงานใน step ต่อไป
นั่นคือการทำซ้ำด้วยคำสั่ง Array เพื่อสร้างชิ้นงานแบบจัดเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ เป็นระยะทางเท่าๆกันต่อชิ้น ทำให้ได้ผลงานดังรูป
จากนั้นเลือกคำสั่ง Subtract เพื่อตัดชิ้นงานออกจากกัน โดยเลือกเก็บชิ้นงานที่ใหญ่กว่าไว้ ตามฃั้นตอน
ได้ผลงานดังรูป จากนั้นสามารถสร้างชิ้นงาน solids ที่มีรายละเอียดต่อไปได้
สรุปได้ว่าคำสั่ง UCS/Z Axis ช่วยทำให้การทำงานที่อิงกับระนาบต่างๆทำได้ง่ายมากแค่กำหนดเพียง 2 จุด คือ Origin และ Z Axis เท่านั้นครับ
การทำงานแบบ 3 มิติ ด้วย AutoCAD จะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เพราะโปรแกรมจะเริ่มต้นการทำงานในมุมมอง(viewpoint)แบบ 2 มิติจากด้านบน(Top view) คือเห็นเฉพาะแกนในการทำงานเพียง 2 แกนคือ X และ Y จากการมองลงไปที่ชิ้นงาน
ดังนั้น หากต้องการทำงาน 3 มิติ ด้วย AutoCAD ต้องเปลี่ยนมุมมองแบบ default มาเป็นมุมมองที่แสดงแกน Z ด้วย การเปลี่ยนมุมมองนี้จะใช้คำสั่ง vpoint แต่ค่อนข้างมีขั้นตอน ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน นอกจากนั้นในการทำงานจริงๆ เรามักนิยมใช้มุมซ้ำๆ โปรแกรมจึงเพิ่มความสะดวกด้วยการเพิ่มเครื่องมือ กลุ่ม Views ขึ้นมาเพื่อตอบความต้องการและเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ดังรูป
รายละเอียดเครื่องมือ กลุ่ม Views นี้ ช่วงแรกจะเป็นการมองแบบ 2มิติ ในด้านต่างๆ ประกอบด้วย Top,Bottom,Left,Right,Front,Back ตามมาด้วยการมอง 3มิติ แบบ Isometric Projection หรือภาพ 3มิติ ทางเทคนิคที่สามารถวัดขนาดกว้างยาวสูงได้ เหมือนภาพ 2มิติ ประกอบด้วย
SW Isometric / SE Isometric / NE Isometric / NW Isometric คงเกิดความสงสัยกันใช่ไหมครับว่า อักษรย่อ หน้าคำว่า Isometric แต่ละมุมมองนั้น มีความหมายถึงอะไร มาดูคำอธิบายกันครับ
การที่เราจะสื่อสารกับผู้อื่นเกี่ยวกับทิศทางในการมองวัตถุ สิ่งของใดๆ คงต้องหาข้ออ้างอิงมาใช้ประกอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันเสียก่อน เช่น เราบอกให้คนมองไปทางขวามือ ทุกคนก็จะเข้าใจตรงกัน และหันไปมองในทิศทาง ขวา ของตนเองพร้อมกัน เช่นเดียวกัน การบอกว่าเราจะมองวัตถุ 3มิติ จึงอ้างอิงกับสิ่งที่คนทั่วไปมีความเข้าใจตรงกัน นั่นก็คือ ทิศ นั่นเองครับ
สมมุติว่าเราวางชิ้นงานไว้แล้วมองลงมาจากระนาบบน(Top view)การบอกทิศทางจะเป็นดังรูป
นั่นหมายความว่า อักษรย่อ หน้า Isometric ก็คือ ชื่อของแต่ละทิศที่เป็นมุมมองด้าน ทะแยง 45องศา เข้าหาชิ้นงาน นั่นเอง ผมลองสร้างชิ้นงาน 3มิติขึ้นมา จากนั้นไปที่เครื่องมือกลุ่ม Views แล้วเลือกทีละมุมมองเริ่มด้วย
พบว่าการเปลี่ยนมุมมองเป็นไปตามหลักการนี้ สามารถทำให้เราเปลี่ยนมุมมองได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็จะเป็นมุมที่ถูกกำหนด(preset)ไว้แล้ว คือ ทำมุม 45 องศา กับระนาบ XY เสมอ หากต้องการเปลี่ยนแปลง ก็จะมีเครื่องมืออื่นมาช่วยเหลือซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อไปครับ
ต่อเนื่องจากเรื่อง ระบบระบบพิกัด AutoCAD 1 มาดูกันเรื่องระบบพิกัด(Co ordinate) แบบ 3 มิติกันบ้างนะครับ ตามที่ได้ทราบมาก่อนจาก เรื่องของแกน X,Y,Z ที่เป็นแกนที่ใช้ในการทำงานแบบ 3 มิติ ใน AutoCAD อยู่แล้ว ดังนั้น การบอกพิกัดก็สามารถทำได้โดยอ้างอิงกับแกนทั้ง 3 นี้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ผมต้องการลากเส้นต่อจากรูปสี่เหลี่ยม (rectangular)ให้มีความยาว 300 หน่วย เป็นมุมทะแยงเข้าด้านใน ทั้งสี่ด้าน เพื่อสร้างรูปทรงคล้ายหลังคา ดังรูป จะต้องทำอย่างไร
หลักการคือ เราจะลากเส้นตรงจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดปลายที่อยู่ในระนาบ 3 มิติ หมายความว่าเราต้องรู้พิกัดที่แน่นอนของจุดปลายนี้ เราสามารถใช้แนวทางกำหนดพิกัดแบบ Polar ได้เลย ตามโครงสร้าง @dist<xy<xy plane หรือ @ ความยาว < มุมระหว่างแกน XY < มุมที่ทำกับระนาบ XY ดังนั้น หากต้องการจะลากเส้นจากมุมใด ต้องเช็ค UCS Icon ก่อนด้วยว่า มุมองศาที่เลือกนั้นมีค่าเท่าไรกับระนาบ ตาม กฏมือขวา ข้อที่ 2 หรือไม่
อย่างภาพด้านล่าง ผมจะลากเส้นจากจุดเริ่มต้น(ที่ระบุในรูป) ซึ่งมีค่าทำมุมกับระนาบ XY เท่ากับ -45 องศา และมีมุมเอียงขึ้นจากระนาบ XY เป็น 45 องศา ทำให้ต้องกำหนดพิกัดของจุดปลายเป็น @300<-45<45
ด้วยหลักการนี้ ผมก็ลากเส้นจากจุดเริ่มต้น(ที่ระบุในรูป)ต่อมา ซึ่งมีค่าทำมุมกับระนาบ XY เท่ากับ 45 องศา และมีมุมเอียงขึ้นจากระนาบ XY เป็น 45 องศา ทำให้ต้องกำหนดพิกัดของจุดปลายเป็น @300<45<45 ทำให้ได้เส้นที่มีความยาว และเอียงทำมุมตามต้องการ
การกำหนดพิกัดแบบนี้ อาจเข้าใจยากสักหน่อย พยายามศึกษาเรื่องมุมและกฏมือขวาข้อ 2 ให้เข้าใจก็จะช่วยได้มากครับ
บทความยอดนิยมในปี 2016
การทำงานแบบ 3 มิติใน AutoCAD เกิดจากการประสานการทำงานระหว่าง ระบบแกน(Axis) ระบบพิกัด(Co ordinate System) และมุมมองชิ้นงาน(Viewpoint) ผู้ใช้ต้องเข้าใจสามเรื่องนี้ เบื้องต้น เพื่อสั่งการทำงานได้ถูกต้อง
เคยกล่าวถึง ระบบแกนและการเปลี่ยนมุมมองมาแล้วในบทก่อนๆ ตอนนี่มาถึงเรื่องของ ระบบพิกัด(Co ordinate System) กันบ้าง คำว่า พิกัด หมายถึงการบอกตำแหน่ง หรือจุด ใดๆที่เกิดจากการตัดกันของแกน ใน AutoCAD แสดงด้วยค่า x,y (2 มิติ) และ x,y,z (3 มิติ) หรือเรียกว่า พิกัดคาร์ทีเชียน
โปรแกรมจะเริ่มการลากเส้นหรือรูปร่างจาก พิกัดเริ่มต้น ไปยังพิกัดต่อไปเรื่อยๆ จนเสร็จ การระบุความยาว หรือระยะทางของเส้น ทำแบบต่อจากจุดเริ่มต้น เรียกว่า offset world เช่น เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ 10,0 (x=10,y=0)เพราะแกนในแนวนอนคือแกน X แล้ว enter จบคำสั่ง ก็จะได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย
นอกจาก AutoCAD ยังใช้ ระบบพิกัดแบบโพลาร์ ช่วยในการสร้างงานอีกด้วย ระบบพิกัดแบบนี้พูดง่ายๆคือการใช้มุมองศาเป็นผู้ช่วยกำหนดทิศทาง โดยมุมองศาจะเพิ่มขึ้นในทิศทวนเข็มนาฬิกาตามรูป
ระบบพิกัดเชิงขั้ว
ตัวอย่าง การระบุพิกัดแบบนี้ เช่น เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ 10,0 (x=10,0 องศา)เพราะแกนในแนวนอนทำมุม 0 องศาแล้ว enter จบคำสั่ง ก็จะได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย
ถ้าเราต้องการสร้างสีเหลี่ยมขนาด 10 x 20 หน่วย ด้วยเส้นตรงล่ะต้องทำอย่างไร
เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ @10,0 (x=10,0 องศา)ได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย ต่อด้วย ลากเส้นต่อไปในแนวตั้ง ยาว 20 หน่วย คือ @20,270 (y=20,270 องศา)ได้เส้นตรงแนวตั้งยาว 20 หน่วย
จากนั้นลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ @10,180 (x=10,180 องศา)ได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วยไปทางด้านซ้าย และลากเส้นต่อไปในแนวตั้ง ยาว 20 หน่วย คือ @20,90 (y=20,90 องศา)ได้เส้นตรงแนวตั้งยาว 20 หน่วย ก็จะได้รูปสี่เหลี่ยมปิด ขนาด 10×20 หน่วย
ติดตามตอน 2 ครับ
Region เป็นคำสั่งสร้างพื้นผิว จากชิ้นงาน 2 มิติ รูปปิด(Enclosed area)โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ(join) เป็นชิ้นเดียวกันก็ได้ ช่วยให้เกิดความสะดวกในการสร้างโมเดล solids เพราะผู้ใช้อาจใช้คำสั่งเขียนเส้นธรรมดา ในการขึ้นชิ้นงาน 3 มิติได้ เพียงแต่ต้องแน่ใจว่างานเป็นที่ต่อกันสมบูรณ์และเป็นรูปปิด(เช่น สีหลี่ยม วงกลม เป็นต้น)เท่านั้น ประโยชน์ของ region คือ มันสามารถนำไปใช้เสมือน solids ใช้กับเครื่องมือ Solid Editing ได้
เพื่อความเข้าใจ ผมจะลองทำการสร้าง region เป็นขั้นตอนดังนี้
เริ่มต้น ด้วยการสร้างรูป 2 มิติ จากคำสั่งพื้นฐาน 3 คำสั่งคือ Line(เส้น) Circle(วงกลม)และ Polygon(หลายเหลี่ยม)6 เหลี่ยม ให้เชื่อมต่อกันดังรูป จะเห็นว่ารูปงานที่ได้เป็นรูปปิด(Enclosed area) โดยสมบูรณ์ ไม่มีช่องว่างใดๆ ผมเลือก view : SW Isometric เพื่อมองแบบ 3 มิติ
หลังจากนั้น ไปที่เครื่องมือกลุ่ม Draw เลือกที่เครื่องมือ Region ดังรูป คำสั่งจะให้เราเลือกชิ้นงานที่ต้องการทำเป็น region ด้วยการเลือกเส้นทั้งหมด แสดงเป็นเส้นประ เมื่อ enter แล้วจะได้พื้นผิวขึ้นมามีสองส่วนแสดงเป็น region 1 และ region 2
คราวนี้ต้องการ เจาะช่องตรงพื้นที่ region 2 ออกไป ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้เครื่องมือ Solid Editing ,ให้ไปเลือกที่ Subtract เพื่อทำการตัดชิ้นงานตามขั้นตอนการ Subtract
ทำตามขั้นตอนการ Subtract แล้วจะได้ผล ดังรูป
ให้สังเกตว่า region จะทำหน้าที่เหมือน วัตถุผิวทึบตัน(solid) ทุกประการ แล้วยังสามารถทำงานต่อได้ภายใต้คำสั่งอื่นๆของ solids อีกด้วย เช่น การ Extrude หรือ การ Slice
ลองทดลองใช้คำสั่ง region กับรูปแบบงานอื่นๆดูเพื่อความเข้าใจมากขึ้นครับ
You must be logged in to post a comment.