Editor’s talk

VJ2เดือน พฤศจิกายนกำลังจะผ่านไป อีกไม่นานก็จะสิ้นปี 2017 แล้ว เวลาผ่านไปเร็วมากนะครับ สำหรับ cad-com.net ในปีนี้ได้รับการตอบรับจากผู้สนใจเข้ามาเรียน CAD และดาวน์โหลดโมเดลสูงกว่าปี 2016 ถึง 700% โดยมีสถิติเพิ่มจาก 1000  เป็น กว่า 13,000 hits และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด ทางทีมงานต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ content ต่างๆที่เราได้เตรียมให้เพื่อพัฒนาความรู้ และช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้ง่ายขึ้น

อีกก้าวสำคัญของ cad-com.net คือ การขยายช่องทางการเชื่อมต่อ สังคมออนไลน์ ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน นั่นคือประเทศสปป.ลาว ผ่านทางเวป www.huglaos.com  ที่มีกลุ่มผู้ใช้ CAD ที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มในเดือน พ.ย.นี้ และมีแผนที่ cad-com.net จะเข้าไปจัดงานอบรม CAD เพื่อชาวสปป.ลาวในปีหน้าอีกด้วย

สำหรับ content ใหม่ มีการเพิ่ม content ที่เป็นวีดิโอเข้ามาเสริมมากขึ้น โดยจะเริ่ม update ช่วงเดือน ธันวาคมนี้ ผมจะมาพบกับท่านอีกครั้งก่อนปีใหม่ เพื่อร่วมฉลองความสำเร็จของ cad-com.net และก้าวสู่ปีใหม่ไปพร้อมกันครับ

vinjirawat

Advertisement

ระบบพิกัด AutoCAD 3

จากเรื่อง ระบบพิกัด AutoCAD 2 ที่ผ่านมาผมขอขยายความเพื่อให้เข้าใจหลักการทำงาน และมาลองนำไปใช้ในการสร้างงานกันดูครับ

เราจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พิกัด 3 มิติแบบ ทรงกลม (Spherical Co-ordinate System) ระบุตำแหน่งโดย ระยะทางจากจุดกำเนิดของ UCS ปัจจุบันมุมจากแกน X ในระนาบ XY และมุมจากระนาบ XY

พิกัด 3 มิติแบบ ทรงกลม  คล้ายกับพิกัด polar ในแบบ 2D คุณหาจุดโดยการระบุระยะห่างจากจุดเริ่มต้นของ UCS ปัจจุบันมุมจากแกน X (ในระนาบ XY) และมุมของมันจากระนาบ XY แต่ละมุมก่อนหน้าด้วยวงเล็บมุมเปิด (<) เช่นใน รูปแบบต่อไปนี้:

@ความยาว < [มุมจากแกน X] < [มุมจากระนาบXY]

spherical CS

ในรูปประกอบด้านบน จุด 8 <60 <30 หมายถึงจุด 8 หน่วยจากจุดเริ่มต้นของ UCS ปัจจุบันในระนาบ XY 60 องศาจากแกน X ในระนาบ XY และ 30 องศาขึ้นแกน Z จากระนาบ XY ส่วนจุด 5 <45 <15 หมายถึงจุด 5 หน่วยจากจุดกำเนิด 45 องศาจากแกน X ในระนาบ XY และ 15 องศาจากระนาบ XY

หากเราต้องการสร้างพื้นผิวแบบ region เพื่อสร้างหลังคา 3 มิติ ขึ้นมาจะมีขั้นตอนดังนี้

ก่อนอื่นปรับมุมมองเป็น Isometric เพื่อให้สามารถเห็นแกน Z ผมเลือก SE Isometric แล้วสร้างรูป สีเหลี่ยมผืนผ้าด้วยคำสั่ง Line ดังรูป

spherical CS-1

จากนั้นก็สร้าง Line เริ่มต่อจาก endpoint ของรูปเหลี่ยม ให้จุดปลายเส้นอยู่ที่พิกัด @300<45<45 จะได้เส้นเอียงเข้าด้านในสี่เหลี่ยม ทำมุม 45 องศากับระนาบ XY ดังรูป

spherical CS-2

ให้สร้าง Line เริ่มต่อจาก endpoint ของรูปเหลี่ยมอีกด้านหนึ่ง ให้จุดปลายเส้นอยู่ที่พิกัด @300<135<45 จะได้เส้นเอียงเข้าด้านในสี่เหลี่ยม ทำมุม 45 องศากับระนาบ XY ดังรูป

spherical CS-3

ให้สังเกตว่า endpoint ของทั้งสองเส้นที่เอียงเข้าหากันจะอยู่ระนาบเดียวกัน

spherical CS-4

ให้ลาก Line ต่อ endpoint ทั้งสองเข้าด้วยกัน เป็นรูปปิด จะได้กรอบด้านเอียงข้างหนึ่งของหลังคานี้

spherical CS-5

เนื่องจากหลังคามีความสมมาตรกัน เราจึงใช้คำสั่ง mirror เพื่อทำงานเพิ่มได้เลยโดยไม่ต้องลากเส้นอีกโดยเลือก mirror line ให้อยู่กึ่งกลางของด้านยาว

spherical CS-7

จากนั้นสร้าง line เพื่อให้เกิดเป็นรูปปิดดังรูป

spherical CS-8

เพื่อให้เกิดพื้นผิวระนาบหลังคาที่สมบูรณ์ ใช้คำสั่ง region  สร้างระนาบให้ครบทุกด้าน

spherical CS-9

spherical CS-10

ผลงานที่ได้จะสามารถนำไปประกอบการทำงาน 3มิติ ได้ต่อไป ลองฝึกการกำหนดพิกัดแบบ Spherical ดูเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยจะทำให้เราสามารถสร้างงานที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ครับ

Empower your Design

www.cadcoms.com

AutoCAD: Isometric view

การทำงานแบบ 3 มิติ ด้วย AutoCAD จะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เพราะโปรแกรมจะเริ่มต้นการทำงานในมุมมอง(viewpoint)แบบ 2 มิติจากด้านบน(Top view) คือเห็นเฉพาะแกนในการทำงานเพียง 2 แกนคือ X และ Y จากการมองลงไปที่ชิ้นงาน

ดังนั้น หากต้องการทำงาน 3 มิติ ด้วย AutoCAD ต้องเปลี่ยนมุมมองแบบ default มาเป็นมุมมองที่แสดงแกน Z ด้วย การเปลี่ยนมุมมองนี้จะใช้คำสั่ง vpoint แต่ค่อนข้างมีขั้นตอน ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน นอกจากนั้นในการทำงานจริงๆ เรามักนิยมใช้มุมซ้ำๆ โปรแกรมจึงเพิ่มความสะดวกด้วยการเพิ่มเครื่องมือ กลุ่ม Views ขึ้นมาเพื่อตอบความต้องการและเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ดังรูป

iso-01

รายละเอียดเครื่องมือ กลุ่ม Views นี้ ช่วงแรกจะเป็นการมองแบบ 2มิติ ในด้านต่างๆ ประกอบด้วย Top,Bottom,Left,Right,Front,Back ตามมาด้วยการมอง 3มิติ แบบ Isometric Projection หรือภาพ 3มิติ ทางเทคนิคที่สามารถวัดขนาดกว้างยาวสูงได้ เหมือนภาพ 2มิติ ประกอบด้วย

SW Isometric / SE Isometric / NE Isometric / NW Isometric คงเกิดความสงสัยกันใช่ไหมครับว่า อักษรย่อ หน้าคำว่า Isometric แต่ละมุมมองนั้น มีความหมายถึงอะไร มาดูคำอธิบายกันครับ

ทิศทางในการมองทั้งสี่

การที่เราจะสื่อสารกับผู้อื่นเกี่ยวกับทิศทางในการมองวัตถุ สิ่งของใดๆ คงต้องหาข้ออ้างอิงมาใช้ประกอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันเสียก่อน เช่น เราบอกให้คนมองไปทางขวามือ ทุกคนก็จะเข้าใจตรงกัน และหันไปมองในทิศทาง ขวา ของตนเองพร้อมกัน เช่นเดียวกัน การบอกว่าเราจะมองวัตถุ 3มิติ จึงอ้างอิงกับสิ่งที่คนทั่วไปมีความเข้าใจตรงกัน นั่นก็คือ ทิศ นั่นเองครับ

สมมุติว่าเราวางชิ้นงานไว้แล้วมองลงมาจากระนาบบน(Top view)การบอกทิศทางจะเป็นดังรูป

iso-02

นั่นหมายความว่า อักษรย่อ หน้า Isometric ก็คือ ชื่อของแต่ละทิศที่เป็นมุมมองด้าน ทะแยง 45องศา เข้าหาชิ้นงาน นั่นเอง ผมลองสร้างชิ้นงาน 3มิติขึ้นมา จากนั้นไปที่เครื่องมือกลุ่ม Views แล้วเลือกทีละมุมมองเริ่มด้วย

SE Isometric

iso-03

SW Isometric

iso-04

NE Isometric

iso-05

NW Isometric

iso-06

พบว่าการเปลี่ยนมุมมองเป็นไปตามหลักการนี้ สามารถทำให้เราเปลี่ยนมุมมองได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็จะเป็นมุมที่ถูกกำหนด(preset)ไว้แล้ว คือ ทำมุม 45 องศา กับระนาบ XY เสมอ หากต้องการเปลี่ยนแปลง ก็จะมีเครื่องมืออื่นมาช่วยเหลือซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อไปครับ

Empower your Design

www.cadcoms.com

AutoCAD: Quick Calc

qc-01

เคยไหมครับ ที่เวลาทำงานด้วย AutoCAD แล้ว จำเป็นต้องใช้ เครื่องคิดเลขขึ้นมา แต่ต้องออกไปเปิดโปรแกรมอื่นเพิ่มเติม ทำให้ขัดจังหวะเวลาทำงาน เรื่องนี้ไม่ยากครับ เพียงแค่ พิมพ์ คำสั่งย่อ(hotkey) QC ลงไปที่ command line ก็จะเป็นการเรียกเปิดเครื่องมือ Quick Calculator หรือเครื่องคิดเลข ดังรูป สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องออกจากโปรแกรมครับ 

 

Empower your Design

http://www.cadcoms.com

SketchUp Workshop: Banner flag

banner-flag-final

Banner flag หรือแบนเนอร์ แบบธง พบบ่อยๆในงานอีเวนต์ มีหลายรูปแบบ นำมาจัดเรียงกันเป็นแนวเพื่อแสดงพื้นที่่จัดงาน คือ เวอร์คชอป ประจำสัปดาห์นี้

ขั้นที่ 1 : สร้างแนวโครง แบนเนอร์

เนื่องจากแบนเนอร์ มีโครงเหล็กในแนวตั้ง ส่วนปลายโค้ง จึงต้องใช้ 2 คำสั่งร่วมกันสร้างคือ คำสั่ง line และ arc นอกจากนั้นหน้าตัด(section) ของโครงสร้างมักเป็นวงกลม จึงต้องใช้คำสั่ง circle มาสร้างวงกลมไว้ที่ปลายเส้นดังรูป

banner-flag-01

ขั้นที่ 2 : สร้างโมเดล ผืนผ้าแบนเนอร์

ต้องการสร้าง พื้นผิว(surface)เพื่อทำผืนผ้าแบนเนอร์ ทำด้วยการลากเส้นตรง (line) ต่อจากปลายของส่วนโค้ง    ลงมาที่เส้นแนวตั้ง บริเวณใดก็ได้ จะเกิดพื้นผิวขึ้น

banner-flag-01b

banner-flag-04

ขั้นที่ 3 : สร้างโมเดลโครงสร้าง แบนเนอร์

ต่อมาด้วยการทำให้โครงสร้างแบนเนอร์ เป็น 3D จะใช้คำสั่ง Follow Me เพื่อให้เกิดโมเดลขึ้นตามแนวโครงที่ทำไว้

banner-flag-02

ขั้นตอนคือ คลิกเลือก circle ที่สร้างไว้ แล้วลากตามแนวโครงที่สร้างไว้แล้ว ดังรูbanner-flag-03

เสร็จแล้วเราจะได้โมเดล ธงแบนเนอร์พร้อมใช้งาน

Banner flag 08.png

ขั้นที่4: สร้างวัสดุ(Materials)เพื่อใช้งาน

ใส่วัสดุให้โมเดลด้วยคำสั่ง ถังสี(Instructor :Paint Bucket) ให้เลือกสร้างที่ Create Material.. จากนั้นให้ตั้งชื่อที่ต้องการ ในตัวอย่างผมใช้เป็นแถบสี เหลืองสลับดำ จึงตั้งชื่อว่า B&Y Stripes โดยนำเอาไฟล์ภาพสีเหลืองสลับดำที่เตรียมไว้แล้ว มาสร้างเป็น Texture โดยไปเลือกที่ทางเลือก use texture image(แนะนำให้ใช้ไฟล์ jpg หรือ png) เราก็จะได้วัสดุใหม่ไว้เป็นของตัวเอง

banner-flag-05

banner-flag-06

การนำไปใช้ก็เหมือนกับขั้นตอนใน การใช้ ถังสี(Instructor :Paint Bucket) โดยเลือกเทสีลงที่โมเดลที่ต้องการโดยตรง 

banner-flag-07

เพื่อความสวยงามสร้างโมเดล ฐานตั้ง เพิ่มเติม และทำให้สมบูรณ์เป็นอันเสร็จครับ

banner-flag-final

ลองฝึกฝีมือกันแล้วจะมี workshop มาฝากเรื่อยๆครับ

 

Empower your Design

www.cadcoms.com

Sketch Up : Workshop:กระถางต้นไม้

201606-WS-01-01

กระถางต้นไม้ทรงกระบอก กรุด้วยหินอ่อนสองลาย วางอยู่ข้างทางเดินที่ปูด้วยหินแกรนิตสีเทา ปลูกไม้ใบดูร่มรื่นตลอดทางเดิน คือ เวอร์คชอป ประจำสัปดาห์นี้201606-WS-01-02

ขั้นที่ 1 : สร้างโมเดลกระถางต้นไม้

เริ่มต้นด้วยการใช้คำสั่ง Circle (ขนาดตามใจผู้สร้าง)เพื่อสร้าง Path ก่อน จากนั้นใช้คำสั่ง Line สร้าง Face รูปร่างตามตัวอย่าง สำหรับรูปร่างที่สร้างขึ้นมานั้น ก็คือรูปตัดขวางของกระถางต้นไม้นั่นเอง โดยผู้ใช้สามารถสร้างรูปร่างได้ตามต้องการ

เพื่อให้สวยงาม ใช้คำสั่ง Arc(สร้างส่วนโค้ง)เพิ่มเติมตามมุมของรูปร่างที่สร้างขึ้นมาดังรูป

201606-WS-01-03จากนั้นเลือกลบเส้นประกอบมุมเพื่อสร้างให้เกิดมุมโค้งได้ผลดังรูปด้านล่าง การวางตัวของพื้นผิว(รูปร่าง)ที่สร้างขึ้นจะต้องอยู่ในตำแหน่ง 1/4 ของวงกลมที่ทำหน้าที่ path ด้วย เพราะจะมีผลต่อโมเดล 3D ที่เกิดขึ้น แนะนำให้ move มาวางในตำแหน่งนี้

201606-WS-01-04

เมื่อองค์ประกอบครบแล้ว ไปที่คำสั่ง Follow Me(ดู Instructor) ทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. คลิกเลือกพื้นผิว(Face)
  2. คลิกเลือก Path
  3. ลากเม้าส์ตามเส้นรอบวงpath จนครบหนึ่งรอบเพื่อให้เกิดรูป3D ขณะลากเม้าส์ให้สังเกตว่ามีโมเดลเกิดขึ้นตามแนวการลากเม้าส์ตามเส้น path

201606-WS-01-05

จบขั้นตอน Follow Me ได้โมเดลกระถางต้นไม้ตามรูปด้านล่าง โมเดล3Dที่สร้างขึ้นอาจจะหน้าตา ต่างจากตัวอย่างได้ขึ้นอยู่กับพื้นผิวที่สร้างว่ามีหน้าตาอย่างไร

201606-WS-01-06

ขั้นที่2:เพิ่มความสมจริงด้วยวัสดุ(Materials)

ใส่วัสดุให้โมเดลด้วยคำสั่ง ถังสี(Instructor :Paint Bucket) ให้เลือกวัสดุที่มีอยู่ในกลุ่ม Brick and Cladding เลือกใส่ลงไปในโมเดลตามชอบ ตัวอย่างใส่สองวัสดุลงไปเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ หลังจากนี้เราก็จะได้กระถางต้นไม้ สไตล์เรามาเป็นต้นแบบแล้ว 1 ชิ้น

201606-WS-01-07

ขั้นที่3:เพิ่มองค์ประกอบอื่นและจัดมุมมอง

กระถางต้องการต้นไม้ Sketch Up มีให้ดาวน์โหลดฟรีที่ 3D Warehouse เลือกดาวน์โหลดลงในงานโดยตรงได้เลย เมื่อได้ต้นไม้มาแล้วนำไปวางในกระถางด้วยคำสั่ง Move และทำซ้ำให้ได้สัก 2 ชุด นอกจากนั้นเพื่อความสมจริงในการพรีเซ้นต์สร้างพื้นผิวด้วยคำสั่งLine และใส่วัสดุ(materials)เพื่อทำเป็นพื้นทางเดิน และสนามหญ้าดังรูป

201606-WS-01-08

หลังจากนั้นใช้คำสั่ง Orbit (Instructor : Orbit) ปรับมุมมองเพื่อให้ได้มุมที่น่าสนใจดังรูป เป็นอันเสร็จครับ

201606-WS-01-01

ลองฝึกฝีมือกันดูสนุกๆนะครับ

Empower your Design

http://www.cadcoms.com

Photoshop ออนไลน์

สำหรับหลายคนที่สนใจอยากลองใช้ Photoshop โปรแกรม จัดการทุกอย่างเกี่ยวกับภาพดิจิตอล cad-com.net รวมเทคนิคดีๆไว้ให้ทดลอง อัพเดททุกวัน ที่นี่ที่เดียว

Photoshop:ปรับขนาดภาพด้วย Image size

แต่งสีภาพด้วย Photoshop ตอนที่ 1

แต่งสีภาพด้วย Photoshop ตอนที่ 2

Photoshop:แต่งสีภาพด้วย Photoshop ตอนที่ 2

ต่อจาก แต่งสีภาพด้วย Photoshop ตอนที่ 1

PS-05

หลังจากสร้างเส้น Path ได้จนครบรอบรูปงานส่วนที่ต้องการจนครบแล้ว สามารถแก็ไขได้ด้วยการกดคีย์ Ctrl แล้วคลิกที่เส้น Path ก็จะเห็น Tangent Line และ Anchor Point ผู้ใช้เลือกปรับเพื่อเพิ่มความถูกต้องของเส้น Path เพิ่มขึ้นได้อีกจนกว่าจะพอใจ

หลังจากนั้นให้ไปเลือกที่ Window/Paths (กลุ่มพาเล็ตเดียวกับ Layers) ให้คลิกเม้าส์ปุ่มขวาที่แถบ Work Path จะได้ทางเลือกดังรูป ให้เลือกที่หัวข้อ Make Selection…

PS-06

จะเห็นเส้นแสดงการเลือก(Selection) เป็น กรอบเส้นประ ตามแนวเดียวกับเส้น Path ที่สร้างไว้ดังรูป

PS-07

ความหมายของการเลือกแบบนี้คือ บริเวณ พื้นที่ภายใน Selection เท่านั้น คือส่วนที่ถูกเลือก และใช้คำสั่งต่างๆได้ 

แต่งานที่ต้องการคือการปรับสีของพื้นที่บริเวณที่ไม่ได้ถูกเลือก โฟโต้ชอป มีคำสั่งช่วยเหลือผู้ใช้ ในกรณีนี้คือคำสั่ง Select / Inverse คีย์ลัด (Shift+Ctrl+I)

PS-08

เมื่อใช้คำสั่ง Select / Inverse แล้วได้ผลการเลือกดังรูปPS-09

ให้สังเกตว่าการเลือกจะมีขอบเขตจากเส้น Path ครอบคลุมพื้นที่นอกส่วนมี่เลือกครั้งแรก(สังเกตที่เส้นประ) ดังนั้นหากเราใช้คำสั่งใดๆจะมีผลกับพื้นที่ส่วนนี้เท่านั้น เราจะลองปรับเปลี่ยนให้สีเป็นแบบขาวเทาดำ(Monochrome) ด้วยคำสั่ง Adjustments : Hue/Saturation คีย์ลัด (Ctrl+U)

PS-10

การปรับ Hue (วรรณะ) เช่นสีร้อน สีเย็น และ Saturation (ความซีดจาง) และ Lightness(สว่าง-มืด) มีรูปแบบเครื่องมือดังรูป

PS-11

ให้ปรับค่า Saturation การปรับค่า บวก-ลบ ทำโดยการเลื่อน Slide bar (ซ้าย ลด -ขวา เพิ่ม) ตรวจสอบดูว่าผลงานเป็นอย่างไร กรณีตัวอย่างนี้ปรับ Saturation = -100 ได้ภาพเป็น Monochrome PS-01.png

ฝึกใช้ Pen Tool ให้ชำนาญช่วยในการปรับภาพให้สวยงามขึ้นด้วยครับ

 

 

Cadcoms 7th Anniversary
Cadcoms 7th Anniversary

SKP Instructor : Protractor

animation-protractor >>>  protactor

เครื่องมือ Protractor

ใช้สำหรับวัดมุมองศา และใช้สร้างเส้นที่มีลักษณะเป็นมุม

วิธีการใช้เครื่องมือ

1.เลื่อน Protractor ให้จุดเซนเตอร์ของเครื่องมืออยู่ที่จุดปลาย(vertex)ด้านหนึ่งของเส้นที่จะสร้าง

2.คลิก หนึ่งครั้งเพื่อวาง Protractor

3.เลื่อนเมาส์เคอร์เซอร์ เป็นแนววงกลม เพื่อให้เกิดจุดเริ่มต้นของมุมที่่ต้องการ

4.คลิก หนึ่งครั้งเพื่อเป็นจุดเริ่มของมุมที่ต้องการ

5.ทำขั้นตอนที่ 1. กับอีกด้านประกอบมุม เพื่อให้ได้แนวของมุมที่ต้องการ

6.คลิก หนึ่งครั้งเพื่อสร้างมุมองศา

7.กดคีย์ ESC ในกรณีที่ต้องการยกเลิกคำสั่ง

คีย์ลัดเพื่อช่วยเพิ่มทางเลือกให้คำสั่ง

Ctrl :เพื่อสลับการสร้างเส้นร่าง หรือไม่สร้างเส้นร่าง

Shift : เพื่อให้ Protractor ยึดแนวแกนตามเส้นร่างที่สร้างขึ้น

เพื่อความเข้าใจให้สังเกตภาพเคลื่อนไหวประกอบไปด้วยครับ

cadcoms-2021-s-1

Empower your Design

http://www.cadcoms.com

SketchUp : คำสั่ง Push/Pull

เมื่อเราสร้างรูปร่างจาก คำสั่ง line ขึ้นมาได้แล้ว การทำให้เป็น 3 มิติ วิธีึงคือใช้คำสั่ง Push/Pull เครื่องมือดังรูป

PUSH01

หลังจากนั้นให้ไปเลือกที่ face ที่จะทำเป็น 3 มิติ เมื่อคลิกเลื่อนเม้าส์ จะทำให้ face นั้นยืดออกตามแนวตรง แล้วแต่ทิศทาง เหมือน ผลัก/ดึง ให้ยืดออกไป ดังรูป

PUSH02

หากต้องการระยะที่แน่นอน ให้ใส่ค่าที่ต้องการลงในช่อง Distance เมื่อ enter จะได้รูปทรงตามระยะที่ต้องการ

คำสั่งนี้ใช้ง่าย และแก้ไขได้กับทุก face ที่มองเห็น ทำให้เราสร้างโมเดลได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ลองทำดูครับ

logo2016