Editor’s talk

VJ2เดือน พฤศจิกายนกำลังจะผ่านไป อีกไม่นานก็จะสิ้นปี 2017 แล้ว เวลาผ่านไปเร็วมากนะครับ สำหรับ cad-com.net ในปีนี้ได้รับการตอบรับจากผู้สนใจเข้ามาเรียน CAD และดาวน์โหลดโมเดลสูงกว่าปี 2016 ถึง 700% โดยมีสถิติเพิ่มจาก 1000  เป็น กว่า 13,000 hits และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด ทางทีมงานต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ content ต่างๆที่เราได้เตรียมให้เพื่อพัฒนาความรู้ และช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้ง่ายขึ้น

อีกก้าวสำคัญของ cad-com.net คือ การขยายช่องทางการเชื่อมต่อ สังคมออนไลน์ ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน นั่นคือประเทศสปป.ลาว ผ่านทางเวป www.huglaos.com  ที่มีกลุ่มผู้ใช้ CAD ที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มในเดือน พ.ย.นี้ และมีแผนที่ cad-com.net จะเข้าไปจัดงานอบรม CAD เพื่อชาวสปป.ลาวในปีหน้าอีกด้วย

สำหรับ content ใหม่ มีการเพิ่ม content ที่เป็นวีดิโอเข้ามาเสริมมากขึ้น โดยจะเริ่ม update ช่วงเดือน ธันวาคมนี้ ผมจะมาพบกับท่านอีกครั้งก่อนปีใหม่ เพื่อร่วมฉลองความสำเร็จของ cad-com.net และก้าวสู่ปีใหม่ไปพร้อมกันครับ

vinjirawat

Advertisement

ระบบพิกัด AutoCAD 3

จากเรื่อง ระบบพิกัด AutoCAD 2 ที่ผ่านมาผมขอขยายความเพื่อให้เข้าใจหลักการทำงาน และมาลองนำไปใช้ในการสร้างงานกันดูครับ

เราจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พิกัด 3 มิติแบบ ทรงกลม (Spherical Co-ordinate System) ระบุตำแหน่งโดย ระยะทางจากจุดกำเนิดของ UCS ปัจจุบันมุมจากแกน X ในระนาบ XY และมุมจากระนาบ XY

พิกัด 3 มิติแบบ ทรงกลม  คล้ายกับพิกัด polar ในแบบ 2D คุณหาจุดโดยการระบุระยะห่างจากจุดเริ่มต้นของ UCS ปัจจุบันมุมจากแกน X (ในระนาบ XY) และมุมของมันจากระนาบ XY แต่ละมุมก่อนหน้าด้วยวงเล็บมุมเปิด (<) เช่นใน รูปแบบต่อไปนี้:

@ความยาว < [มุมจากแกน X] < [มุมจากระนาบXY]

spherical CS

ในรูปประกอบด้านบน จุด 8 <60 <30 หมายถึงจุด 8 หน่วยจากจุดเริ่มต้นของ UCS ปัจจุบันในระนาบ XY 60 องศาจากแกน X ในระนาบ XY และ 30 องศาขึ้นแกน Z จากระนาบ XY ส่วนจุด 5 <45 <15 หมายถึงจุด 5 หน่วยจากจุดกำเนิด 45 องศาจากแกน X ในระนาบ XY และ 15 องศาจากระนาบ XY

หากเราต้องการสร้างพื้นผิวแบบ region เพื่อสร้างหลังคา 3 มิติ ขึ้นมาจะมีขั้นตอนดังนี้

ก่อนอื่นปรับมุมมองเป็น Isometric เพื่อให้สามารถเห็นแกน Z ผมเลือก SE Isometric แล้วสร้างรูป สีเหลี่ยมผืนผ้าด้วยคำสั่ง Line ดังรูป

spherical CS-1

จากนั้นก็สร้าง Line เริ่มต่อจาก endpoint ของรูปเหลี่ยม ให้จุดปลายเส้นอยู่ที่พิกัด @300<45<45 จะได้เส้นเอียงเข้าด้านในสี่เหลี่ยม ทำมุม 45 องศากับระนาบ XY ดังรูป

spherical CS-2

ให้สร้าง Line เริ่มต่อจาก endpoint ของรูปเหลี่ยมอีกด้านหนึ่ง ให้จุดปลายเส้นอยู่ที่พิกัด @300<135<45 จะได้เส้นเอียงเข้าด้านในสี่เหลี่ยม ทำมุม 45 องศากับระนาบ XY ดังรูป

spherical CS-3

ให้สังเกตว่า endpoint ของทั้งสองเส้นที่เอียงเข้าหากันจะอยู่ระนาบเดียวกัน

spherical CS-4

ให้ลาก Line ต่อ endpoint ทั้งสองเข้าด้วยกัน เป็นรูปปิด จะได้กรอบด้านเอียงข้างหนึ่งของหลังคานี้

spherical CS-5

เนื่องจากหลังคามีความสมมาตรกัน เราจึงใช้คำสั่ง mirror เพื่อทำงานเพิ่มได้เลยโดยไม่ต้องลากเส้นอีกโดยเลือก mirror line ให้อยู่กึ่งกลางของด้านยาว

spherical CS-7

จากนั้นสร้าง line เพื่อให้เกิดเป็นรูปปิดดังรูป

spherical CS-8

เพื่อให้เกิดพื้นผิวระนาบหลังคาที่สมบูรณ์ ใช้คำสั่ง region  สร้างระนาบให้ครบทุกด้าน

spherical CS-9

spherical CS-10

ผลงานที่ได้จะสามารถนำไปประกอบการทำงาน 3มิติ ได้ต่อไป ลองฝึกการกำหนดพิกัดแบบ Spherical ดูเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยจะทำให้เราสามารถสร้างงานที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ครับ

Empower your Design

www.cadcoms.com

AutoCAD: Isometric view

การทำงานแบบ 3 มิติ ด้วย AutoCAD จะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เพราะโปรแกรมจะเริ่มต้นการทำงานในมุมมอง(viewpoint)แบบ 2 มิติจากด้านบน(Top view) คือเห็นเฉพาะแกนในการทำงานเพียง 2 แกนคือ X และ Y จากการมองลงไปที่ชิ้นงาน

ดังนั้น หากต้องการทำงาน 3 มิติ ด้วย AutoCAD ต้องเปลี่ยนมุมมองแบบ default มาเป็นมุมมองที่แสดงแกน Z ด้วย การเปลี่ยนมุมมองนี้จะใช้คำสั่ง vpoint แต่ค่อนข้างมีขั้นตอน ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน นอกจากนั้นในการทำงานจริงๆ เรามักนิยมใช้มุมซ้ำๆ โปรแกรมจึงเพิ่มความสะดวกด้วยการเพิ่มเครื่องมือ กลุ่ม Views ขึ้นมาเพื่อตอบความต้องการและเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ดังรูป

iso-01

รายละเอียดเครื่องมือ กลุ่ม Views นี้ ช่วงแรกจะเป็นการมองแบบ 2มิติ ในด้านต่างๆ ประกอบด้วย Top,Bottom,Left,Right,Front,Back ตามมาด้วยการมอง 3มิติ แบบ Isometric Projection หรือภาพ 3มิติ ทางเทคนิคที่สามารถวัดขนาดกว้างยาวสูงได้ เหมือนภาพ 2มิติ ประกอบด้วย

SW Isometric / SE Isometric / NE Isometric / NW Isometric คงเกิดความสงสัยกันใช่ไหมครับว่า อักษรย่อ หน้าคำว่า Isometric แต่ละมุมมองนั้น มีความหมายถึงอะไร มาดูคำอธิบายกันครับ

ทิศทางในการมองทั้งสี่

การที่เราจะสื่อสารกับผู้อื่นเกี่ยวกับทิศทางในการมองวัตถุ สิ่งของใดๆ คงต้องหาข้ออ้างอิงมาใช้ประกอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันเสียก่อน เช่น เราบอกให้คนมองไปทางขวามือ ทุกคนก็จะเข้าใจตรงกัน และหันไปมองในทิศทาง ขวา ของตนเองพร้อมกัน เช่นเดียวกัน การบอกว่าเราจะมองวัตถุ 3มิติ จึงอ้างอิงกับสิ่งที่คนทั่วไปมีความเข้าใจตรงกัน นั่นก็คือ ทิศ นั่นเองครับ

สมมุติว่าเราวางชิ้นงานไว้แล้วมองลงมาจากระนาบบน(Top view)การบอกทิศทางจะเป็นดังรูป

iso-02

นั่นหมายความว่า อักษรย่อ หน้า Isometric ก็คือ ชื่อของแต่ละทิศที่เป็นมุมมองด้าน ทะแยง 45องศา เข้าหาชิ้นงาน นั่นเอง ผมลองสร้างชิ้นงาน 3มิติขึ้นมา จากนั้นไปที่เครื่องมือกลุ่ม Views แล้วเลือกทีละมุมมองเริ่มด้วย

SE Isometric

iso-03

SW Isometric

iso-04

NE Isometric

iso-05

NW Isometric

iso-06

พบว่าการเปลี่ยนมุมมองเป็นไปตามหลักการนี้ สามารถทำให้เราเปลี่ยนมุมมองได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็จะเป็นมุมที่ถูกกำหนด(preset)ไว้แล้ว คือ ทำมุม 45 องศา กับระนาบ XY เสมอ หากต้องการเปลี่ยนแปลง ก็จะมีเครื่องมืออื่นมาช่วยเหลือซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อไปครับ

Empower your Design

www.cadcoms.com

ระบบพิกัด AutoCAD 1

บทความยอดนิยมในปี 2016

www.cadcoms.com

การทำงานแบบ 3 มิติใน AutoCAD เกิดจากการประสานการทำงานระหว่าง ระบบแกน(Axis) ระบบพิกัด(Co ordinate System) และมุมมองชิ้นงาน(Viewpoint) ผู้ใช้ต้องเข้าใจสามเรื่องนี้ เบื้องต้น เพื่อสั่งการทำงานได้ถูกต้อง

เคยกล่าวถึง ระบบแกนและการเปลี่ยนมุมมองมาแล้วในบทก่อนๆ ตอนนี่มาถึงเรื่องของ ระบบพิกัด(Co ordinate System) กันบ้าง คำว่า พิกัด หมายถึงการบอกตำแหน่ง หรือจุด ใดๆที่เกิดจากการตัดกันของแกน ใน AutoCAD แสดงด้วยค่า x,y (2 มิติ) และ x,y,z (3 มิติ) หรือเรียกว่า พิกัดคาร์ทีเชียน

โปรแกรมจะเริ่มการลากเส้นหรือรูปร่างจาก พิกัดเริ่มต้น ไปยังพิกัดต่อไปเรื่อยๆ จนเสร็จ การระบุความยาว หรือระยะทางของเส้น ทำแบบต่อจากจุดเริ่มต้น เรียกว่า offset world เช่น เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ 10,0 (x=10,y=0)เพราะแกนในแนวนอนคือแกน X แล้ว enter จบคำสั่ง ก็จะได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย

นอกจาก AutoCAD ยังใช้ ระบบพิกัดแบบโพลาร์ ช่วยในการสร้างงานอีกด้วย ระบบพิกัดแบบนี้พูดง่ายๆคือการใช้มุมองศาเป็นผู้ช่วยกำหนดทิศทาง โดยมุมองศาจะเพิ่มขึ้นในทิศทวนเข็มนาฬิกาตามรูป

ระบบพิกัดเชิงขั้ว ระบบพิกัดเชิงขั้ว

ตัวอย่าง การระบุพิกัดแบบนี้ เช่น เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ 10,0 (x=10,0 องศา)เพราะแกนในแนวนอนทำมุม 0 องศาแล้ว enter จบคำสั่ง ก็จะได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย 

ถ้าเราต้องการสร้างสีเหลี่ยมขนาด 10 x 20 หน่วย ด้วยเส้นตรงล่ะต้องทำอย่างไร

เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ @10,0 (x=10,0 องศา)ได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย ต่อด้วย ลากเส้นต่อไปในแนวตั้ง ยาว 20 หน่วย คือ @20,270 (y=20,270 องศา)ได้เส้นตรงแนวตั้งยาว 20 หน่วย

จากนั้นลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ @10,180 (x=10,180 องศา)ได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วยไปทางด้านซ้าย และลากเส้นต่อไปในแนวตั้ง ยาว 20 หน่วย คือ @20,90 (y=20,90 องศา)ได้เส้นตรงแนวตั้งยาว 20 หน่วย ก็จะได้รูปสี่เหลี่ยมปิด ขนาด 10×20 หน่วย

ติดตามตอน 2 ครับ

View original post

AutoCAD : Region

region-01

Region เป็นคำสั่งสร้างพื้นผิว จากชิ้นงาน 2 มิติ รูปปิด(Enclosed area)โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ(join) เป็นชิ้นเดียวกันก็ได้ ช่วยให้เกิดความสะดวกในการสร้างโมเดล solids เพราะผู้ใช้อาจใช้คำสั่งเขียนเส้นธรรมดา ในการขึ้นชิ้นงาน 3 มิติได้ เพียงแต่ต้องแน่ใจว่างานเป็นที่ต่อกันสมบูรณ์และเป็นรูปปิด(เช่น สีหลี่ยม วงกลม เป็นต้น)เท่านั้น ประโยชน์ของ region คือ มันสามารถนำไปใช้เสมือน solids ใช้กับเครื่องมือ Solid Editing ได้

เพื่อความเข้าใจ ผมจะลองทำการสร้าง region เป็นขั้นตอนดังนี้

region-02

เริ่มต้น ด้วยการสร้างรูป 2 มิติ จากคำสั่งพื้นฐาน 3 คำสั่งคือ Line(เส้น) Circle(วงกลม)และ Polygon(หลายเหลี่ยม)6 เหลี่ยม ให้เชื่อมต่อกันดังรูป จะเห็นว่ารูปงานที่ได้เป็นรูปปิด(Enclosed area) โดยสมบูรณ์ ไม่มีช่องว่างใดๆ ผมเลือก view : SW Isometric เพื่อมองแบบ 3 มิติ

region-03

หลังจากนั้น ไปที่เครื่องมือกลุ่ม Draw เลือกที่เครื่องมือ Region ดังรูป คำสั่งจะให้เราเลือกชิ้นงานที่ต้องการทำเป็น region ด้วยการเลือกเส้นทั้งหมด แสดงเป็นเส้นประ เมื่อ enter แล้วจะได้พื้นผิวขึ้นมามีสองส่วนแสดงเป็น region 1 และ region 2

region-04region-05

คราวนี้ต้องการ เจาะช่องตรงพื้นที่ region 2 ออกไป ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้เครื่องมือ Solid Editing ,ให้ไปเลือกที่ Subtract เพื่อทำการตัดชิ้นงานตามขั้นตอนการ Subtract

region-06aregion-06b

ทำตามขั้นตอนการ Subtract แล้วจะได้ผล ดังรูป

region-07

ให้สังเกตว่า region จะทำหน้าที่เหมือน วัตถุผิวทึบตัน(solid) ทุกประการ แล้วยังสามารถทำงานต่อได้ภายใต้คำสั่งอื่นๆของ solids อีกด้วย เช่น การ Extrude หรือ การ Slice

REGION-08.png

ลองทดลองใช้คำสั่ง region กับรูปแบบงานอื่นๆดูเพื่อความเข้าใจมากขึ้นครับ

 

Empower your Design

www.cadcoms.com

AutoCAD: Quick Calc

qc-01

เคยไหมครับ ที่เวลาทำงานด้วย AutoCAD แล้ว จำเป็นต้องใช้ เครื่องคิดเลขขึ้นมา แต่ต้องออกไปเปิดโปรแกรมอื่นเพิ่มเติม ทำให้ขัดจังหวะเวลาทำงาน เรื่องนี้ไม่ยากครับ เพียงแค่ พิมพ์ คำสั่งย่อ(hotkey) QC ลงไปที่ command line ก็จะเป็นการเรียกเปิดเครื่องมือ Quick Calculator หรือเครื่องคิดเลข ดังรูป สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องออกจากโปรแกรมครับ 

 

Empower your Design

http://www.cadcoms.com

AutoCAD:Annotate-Dimension การบอกขนาด ตอนที่ 1

  1. เพราะ AutoCAD เป็นโปรแกรมกลุ่มเวคเตอร์(Vector) ใช้ประโยชน์ในการเขียนแบบทางเทคนิคเป็นหลัก การบอกขนาดชิ้นงานจึงมีความสำคัญและมีกลุ่มเครื่องมือเพื่อเรื่องการบอกขนาดและรายละเอียดงานโดยเฉพาะคือกลุ่มเครื่องมือ Annotate:Dimension
  2. dim-01

โดยในกลุ่ม Dimension ยังมีเครื่องมือแยกออกไปตามการใช้บอกขนาด ประเภทต่างๆประกอบด้วย

dim-01-B

  1. Linear  บอกขนาดในแนวเส้นตรง(ทั้งแนวตั้งและแนวนอน)
  2. Aligned บอกขนาดในแนวขนานไปกับชิ้นงาน ทุกระนาบ
  3. Angular บอกขนาดมุม องศา ระหว่างชิ้นงาน 2 ชิ้น
  4. Arc Length บอกขนาดความยาวของส่วนโค้ง(Arc)จากจุดปลายของส่วนโค้ง
  5. Radius บอกขนาดรัศมีวงกลม หรือส่วนของวงกลม
  6. Diameter บอกขนาดผ่าศูนย์กลางวงกลม หรือส่วนของวงกลม
  7. Jogged บอกขนาดแบบย่อส่วน ใช้ในกรณีเช่น เส้นรัศมีอยู้ไกลจากชิ้นงานมาก
  8. Ordinate การบอกขนาดที่อ้างอิงจากจุดเริ่มต้นที่กำหนดไว้

เพื่อความเข้าใจ ดูรูปประกอบแสดง Dimension แบบต่างๆด้านล่างdim-04

ตอนต่อไป จะมาดูกันว่าในการใช้ Dimension ต้องรู้วิธีการตั้งค่าอะไรบ้าง ติดตามกันให้ได้ครับ

Empower your Design
http://www.cadcoms.com

Sketch Up : Workshop:กระถางต้นไม้

201606-WS-01-01

กระถางต้นไม้ทรงกระบอก กรุด้วยหินอ่อนสองลาย วางอยู่ข้างทางเดินที่ปูด้วยหินแกรนิตสีเทา ปลูกไม้ใบดูร่มรื่นตลอดทางเดิน คือ เวอร์คชอป ประจำสัปดาห์นี้201606-WS-01-02

ขั้นที่ 1 : สร้างโมเดลกระถางต้นไม้

เริ่มต้นด้วยการใช้คำสั่ง Circle (ขนาดตามใจผู้สร้าง)เพื่อสร้าง Path ก่อน จากนั้นใช้คำสั่ง Line สร้าง Face รูปร่างตามตัวอย่าง สำหรับรูปร่างที่สร้างขึ้นมานั้น ก็คือรูปตัดขวางของกระถางต้นไม้นั่นเอง โดยผู้ใช้สามารถสร้างรูปร่างได้ตามต้องการ

เพื่อให้สวยงาม ใช้คำสั่ง Arc(สร้างส่วนโค้ง)เพิ่มเติมตามมุมของรูปร่างที่สร้างขึ้นมาดังรูป

201606-WS-01-03จากนั้นเลือกลบเส้นประกอบมุมเพื่อสร้างให้เกิดมุมโค้งได้ผลดังรูปด้านล่าง การวางตัวของพื้นผิว(รูปร่าง)ที่สร้างขึ้นจะต้องอยู่ในตำแหน่ง 1/4 ของวงกลมที่ทำหน้าที่ path ด้วย เพราะจะมีผลต่อโมเดล 3D ที่เกิดขึ้น แนะนำให้ move มาวางในตำแหน่งนี้

201606-WS-01-04

เมื่อองค์ประกอบครบแล้ว ไปที่คำสั่ง Follow Me(ดู Instructor) ทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. คลิกเลือกพื้นผิว(Face)
  2. คลิกเลือก Path
  3. ลากเม้าส์ตามเส้นรอบวงpath จนครบหนึ่งรอบเพื่อให้เกิดรูป3D ขณะลากเม้าส์ให้สังเกตว่ามีโมเดลเกิดขึ้นตามแนวการลากเม้าส์ตามเส้น path

201606-WS-01-05

จบขั้นตอน Follow Me ได้โมเดลกระถางต้นไม้ตามรูปด้านล่าง โมเดล3Dที่สร้างขึ้นอาจจะหน้าตา ต่างจากตัวอย่างได้ขึ้นอยู่กับพื้นผิวที่สร้างว่ามีหน้าตาอย่างไร

201606-WS-01-06

ขั้นที่2:เพิ่มความสมจริงด้วยวัสดุ(Materials)

ใส่วัสดุให้โมเดลด้วยคำสั่ง ถังสี(Instructor :Paint Bucket) ให้เลือกวัสดุที่มีอยู่ในกลุ่ม Brick and Cladding เลือกใส่ลงไปในโมเดลตามชอบ ตัวอย่างใส่สองวัสดุลงไปเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ หลังจากนี้เราก็จะได้กระถางต้นไม้ สไตล์เรามาเป็นต้นแบบแล้ว 1 ชิ้น

201606-WS-01-07

ขั้นที่3:เพิ่มองค์ประกอบอื่นและจัดมุมมอง

กระถางต้องการต้นไม้ Sketch Up มีให้ดาวน์โหลดฟรีที่ 3D Warehouse เลือกดาวน์โหลดลงในงานโดยตรงได้เลย เมื่อได้ต้นไม้มาแล้วนำไปวางในกระถางด้วยคำสั่ง Move และทำซ้ำให้ได้สัก 2 ชุด นอกจากนั้นเพื่อความสมจริงในการพรีเซ้นต์สร้างพื้นผิวด้วยคำสั่งLine และใส่วัสดุ(materials)เพื่อทำเป็นพื้นทางเดิน และสนามหญ้าดังรูป

201606-WS-01-08

หลังจากนั้นใช้คำสั่ง Orbit (Instructor : Orbit) ปรับมุมมองเพื่อให้ได้มุมที่น่าสนใจดังรูป เป็นอันเสร็จครับ

201606-WS-01-01

ลองฝึกฝีมือกันดูสนุกๆนะครับ

Empower your Design

http://www.cadcoms.com

AutoCAD:กฏมือขวา ข้อที่ 2

keep-calm-and-use-the-right-hand-rule-9

คงยังจำเรื่อง กฏมือขวา ข้อที่ 1 ได้อยู่นะครับ วันนี้มาต่อกันด้วยเรื่องของ กฏมือขวา ข้อที่ 2 กัน ก่อนอืนชูมือขวาขึ้นมาแล้วกำมือเหมือนยกนิ้วโป้งขึ้น(Thumb Up) ดังรูป

Thumbs up

Thumbs up

เมื่อเรายกหัวแม่มือขึ้น ให้เปรียบเสมือน แกนหมุน ส่วนปลายนิ้วทั้ง 4 เปรียบเสมือนทิศทางในการหมุน ทิศทางเดียวกับการกำมือ มีค่าเป็น บวก + ทิศทางตรงข้ามกับการกำมือ มีค่าเป็น ลบ –

rhr

กฏนี้ใช้เมื่อต้องการหมุน UCS ให้ไปในทิศทางที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น ต้องการหมุน UCS จากตำแน่ง ปกติให้ไปขนานเพื่อทำงานบนด้าน A ดังรูป

UCS-1-1

เราจะต้องหมุน UCS เพื่อจับแกน Y ตั้งขึ้น ด้วยการใช้คำสั่ง UCS เลือกแกน X เป็นแกนหมุน ตามกฏมือขวา หัวแม่มือชี้ไปทิศทางเดียวกับแกน X การจับ Y ตั้งต้องใส่ค่ามุม 90 องศาเป็นบวก เนื่องจากการหมุนเป็นทิศเดียวกับปลายนิ้วทั้ง 4 เสร็จแล้วได้ผลดังรูป

UCS-1-2

พบว่า UCS ยังไม่ขนานกับด้าน A เราจะต้องหมุน UCS อีกครั้งเพื่อเปลี่ยนแกน X ไปทางขวา ด้วยการใช้คำสั่ง UCS เลือกแกน Y เป็นแกนหมุน ตามกฏมือขวา หัวแม่มือชี้ไปทิศทางเดียวกับแกน Y การเลื่อน X ตั้งต้องใส่ค่ามุม 90 องศาเป็นลบ เนื่องจากการหมุนเป็นทิศสวนทางกับปลายนิ้วทั้ง 4 เสร็จแล้วได้ผลดังรูป

UCS-1-3

พบว่าUCS หมุนมาขนานกับด้าน A ทำให้สามารถทำงานบนด้านนี้ได้ เรียกว่าระนาบทำงาน ลองสร้างเพื่อให้เกิดผลงานดังรูป

การหมุน UCS ต้องอาศัยการฝึกทำบ่อยๆเพื่อความเข้าใจ อาจลองสร้างรูปทรงแล้วหมุน UCS เพื่อไปทำงานตามระนาบต่างๆดูครับ

Empower your Design

www.cadcoms.com

ระบบพิกัด AutoCAD 1

การทำงานแบบ 3 มิติใน AutoCAD เกิดจากการประสานการทำงานระหว่าง ระบบแกน(Axis) ระบบพิกัด(Co ordinate System) และมุมมองชิ้นงาน(Viewpoint) ผู้ใช้ต้องเข้าใจสามเรื่องนี้ เบื้องต้น เพื่อสั่งการทำงานได้ถูกต้อง

เคยกล่าวถึง ระบบแกนและการเปลี่ยนมุมมองมาแล้วในบทก่อนๆ ตอนนี่มาถึงเรื่องของ ระบบพิกัด(Co ordinate System) กันบ้าง คำว่า พิกัด หมายถึงการบอกตำแหน่ง หรือจุด ใดๆที่เกิดจากการตัดกันของแกน ใน AutoCAD แสดงด้วยค่า x,y (2 มิติ) และ x,y,z (3 มิติ) หรือเรียกว่า พิกัดคาร์ทีเชียน

โปรแกรมจะเริ่มการลากเส้นหรือรูปร่างจาก พิกัดเริ่มต้น ไปยังพิกัดต่อไปเรื่อยๆ จนเสร็จ การระบุความยาว หรือระยะทางของเส้น ทำแบบต่อจากจุดเริ่มต้น เรียกว่า offset world (@) เช่น เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ 10,0 (x=10,y=0)เพราะแกนในแนวนอนคือแกน X แล้ว enter จบคำสั่ง ก็จะได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย

นอกจาก AutoCAD ยังใช้ ระบบพิกัดแบบโพลาร์ ช่วยในการสร้างงานอีกด้วย ระบบพิกัดแบบนี้พูดง่ายๆคือการใช้มุมองศาเป็นผู้ช่วยกำหนดทิศทาง โดยมุมองศาจะเพิ่มขึ้นในทิศทวนเข็มนาฬิกาตามรูป

ระบบพิกัดเชิงขั้ว

ระบบพิกัดเชิงขั้ว

ตัวอย่าง การระบุพิกัดแบบนี้ เช่น เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ 10<0 (x=10,0 องศา)เพราะแกนในแนวนอนทำมุม 0 องศาแล้ว enter จบคำสั่ง ก็จะได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย 

ถ้าเราต้องการสร้างสีเหลี่ยมขนาด 10 x 20 หน่วย ด้วยเส้นตรงล่ะต้องทำอย่างไร

เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ @10<0 (x=10,0 องศา)ได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย ต่อด้วย ลากเส้นต่อไปในแนวตั้ง ยาว 20 หน่วย คือ @20<270 (y=20,270 องศา)ได้เส้นตรงแนวตั้งยาว 20 หน่วย

จากนั้นลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ @10<180 (x=10,180 องศา)ได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วยไปทางด้านซ้าย และลากเส้นต่อไปในแนวตั้ง ยาว 20 หน่วย คือ @20<90 (y=20,90 องศา)ได้เส้นตรงแนวตั้งยาว 20 หน่วย ก็จะได้รูปสี่เหลี่ยมปิด ขนาด 10 x 20 หน่วย

ติดตามตอน 2 ครับ

ระบบพิกัด AutoCAD 2

 

Empower your Design