



หากท่านมีข้อสงสัยหรืออยากแนะนำเรื่องต่างๆสามารถสแกน QR แอดไลน์ของ cadcoms ได้เลยครับ


หากท่านมีข้อสงสัยหรืออยากแนะนำเรื่องต่างๆสามารถสแกน QR แอดไลน์ของ cadcoms ได้เลยครับ
ทดลองใช้เครื่องมือพื้นฐาน Sketch Up2019 ขึ้นโมเดลง่ายๆทำตามขั้นตอนได้เลยครับ
(download valid until 8/1/18)
เดือน พฤศจิกายนกำลังจะผ่านไป อีกไม่นานก็จะสิ้นปี 2017 แล้ว เวลาผ่านไปเร็วมากนะครับ สำหรับ cad-com.net ในปีนี้ได้รับการตอบรับจากผู้สนใจเข้ามาเรียน CAD และดาวน์โหลดโมเดลสูงกว่าปี 2016 ถึง 700% โดยมีสถิติเพิ่มจาก 1000 เป็น กว่า 13,000 hits และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด ทางทีมงานต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ content ต่างๆที่เราได้เตรียมให้เพื่อพัฒนาความรู้ และช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้ง่ายขึ้น
อีกก้าวสำคัญของ cad-com.net คือ การขยายช่องทางการเชื่อมต่อ สังคมออนไลน์ ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน นั่นคือประเทศสปป.ลาว ผ่านทางเวป www.huglaos.com ที่มีกลุ่มผู้ใช้ CAD ที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มในเดือน พ.ย.นี้ และมีแผนที่ cad-com.net จะเข้าไปจัดงานอบรม CAD เพื่อชาวสปป.ลาวในปีหน้าอีกด้วย
สำหรับ content ใหม่ มีการเพิ่ม content ที่เป็นวีดิโอเข้ามาเสริมมากขึ้น โดยจะเริ่ม update ช่วงเดือน ธันวาคมนี้ ผมจะมาพบกับท่านอีกครั้งก่อนปีใหม่ เพื่อร่วมฉลองความสำเร็จของ cad-com.net และก้าวสู่ปีใหม่ไปพร้อมกันครับ
vinjirawat
จากเรื่อง ระบบพิกัด AutoCAD 2 ที่ผ่านมาผมขอขยายความเพื่อให้เข้าใจหลักการทำงาน และมาลองนำไปใช้ในการสร้างงานกันดูครับ
เราจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พิกัด 3 มิติแบบ ทรงกลม (Spherical Co-ordinate System) ระบุตำแหน่งโดย ระยะทางจากจุดกำเนิดของ UCS ปัจจุบันมุมจากแกน X ในระนาบ XY และมุมจากระนาบ XY
พิกัด 3 มิติแบบ ทรงกลม คล้ายกับพิกัด polar ในแบบ 2D คุณหาจุดโดยการระบุระยะห่างจากจุดเริ่มต้นของ UCS ปัจจุบันมุมจากแกน X (ในระนาบ XY) และมุมของมันจากระนาบ XY แต่ละมุมก่อนหน้าด้วยวงเล็บมุมเปิด (<) เช่นใน รูปแบบต่อไปนี้:
ในรูปประกอบด้านบน จุด 8 <60 <30 หมายถึงจุด 8 หน่วยจากจุดเริ่มต้นของ UCS ปัจจุบันในระนาบ XY 60 องศาจากแกน X ในระนาบ XY และ 30 องศาขึ้นแกน Z จากระนาบ XY ส่วนจุด 5 <45 <15 หมายถึงจุด 5 หน่วยจากจุดกำเนิด 45 องศาจากแกน X ในระนาบ XY และ 15 องศาจากระนาบ XY
หากเราต้องการสร้างพื้นผิวแบบ region เพื่อสร้างหลังคา 3 มิติ ขึ้นมาจะมีขั้นตอนดังนี้
ก่อนอื่นปรับมุมมองเป็น Isometric เพื่อให้สามารถเห็นแกน Z ผมเลือก SE Isometric แล้วสร้างรูป สีเหลี่ยมผืนผ้าด้วยคำสั่ง Line ดังรูป
จากนั้นก็สร้าง Line เริ่มต่อจาก endpoint ของรูปเหลี่ยม ให้จุดปลายเส้นอยู่ที่พิกัด @300<45<45 จะได้เส้นเอียงเข้าด้านในสี่เหลี่ยม ทำมุม 45 องศากับระนาบ XY ดังรูป
ให้สร้าง Line เริ่มต่อจาก endpoint ของรูปเหลี่ยมอีกด้านหนึ่ง ให้จุดปลายเส้นอยู่ที่พิกัด @300<135<45 จะได้เส้นเอียงเข้าด้านในสี่เหลี่ยม ทำมุม 45 องศากับระนาบ XY ดังรูป
ให้สังเกตว่า endpoint ของทั้งสองเส้นที่เอียงเข้าหากันจะอยู่ระนาบเดียวกัน
ให้ลาก Line ต่อ endpoint ทั้งสองเข้าด้วยกัน เป็นรูปปิด จะได้กรอบด้านเอียงข้างหนึ่งของหลังคานี้
เนื่องจากหลังคามีความสมมาตรกัน เราจึงใช้คำสั่ง mirror เพื่อทำงานเพิ่มได้เลยโดยไม่ต้องลากเส้นอีกโดยเลือก mirror line ให้อยู่กึ่งกลางของด้านยาว
จากนั้นสร้าง line เพื่อให้เกิดเป็นรูปปิดดังรูป
เพื่อให้เกิดพื้นผิวระนาบหลังคาที่สมบูรณ์ ใช้คำสั่ง region สร้างระนาบให้ครบทุกด้าน
ผลงานที่ได้จะสามารถนำไปประกอบการทำงาน 3มิติ ได้ต่อไป ลองฝึกการกำหนดพิกัดแบบ Spherical ดูเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยจะทำให้เราสามารถสร้างงานที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ครับ
เปิดให้ดาวน์โหลดถึง 24.00 น.วันที่ 20/9 นี้เท่านั้น
model by archbox : http://www.arch-box.net
หลายครั้งเวลาใช้ SketchUp เราอยากจะ copy ชิ้นงานหรือ Component ให้ได้จำนวนหลายชิ้นในครั้งเดียว วันนี้ผมมีเทคนิคเพื่อตอบโจทย์นี้มาฝากกันครับ
ตัวอย่างเช่น มีเก้าอี้อยู่ตัวนึง ทำเป็น component เรียบร้อย แต่ต้องการ copy เพิ่มขึ้นอีก 5 ตัว รวมเป็น 6 ตัว ให้ทำตามขั้นตอนนี้นะครับ
1 เลือก component ที่ต้องการ copy ก่อน ในที่นี้คือเก้าอี้ดังรูป
2 เลือก Move tool แล้วกดคีย์ Ctrl ที่ keyboard หมายถึง การcopy เมื่อเลื่อนเม้าส์มาด้านขวาจะมี เก้าอี้เพิ่มอีก 1 ตัวดังรูปด้านบน
3 จากนั้นให้พิมพ์ 5* ลงในช่องสี่เหลี่ยม ดังรูป แล้วกด Enter
ก็จะมีเก้าอี้ที่เลือกไว้เพิ่มขึ้นอีก 5 ตัว ตามต้องการครับ
จากตัวอย่าง ให้ลองทำตามด้วย component ที่สร้างเองและใส่จำนวนตามต้องการแล้วอย่าลืมเครื่องหมาย * ด้วยนะครับ
การทำงานแบบ 3 มิติ ด้วย AutoCAD จะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เพราะโปรแกรมจะเริ่มต้นการทำงานในมุมมอง(viewpoint)แบบ 2 มิติจากด้านบน(Top view) คือเห็นเฉพาะแกนในการทำงานเพียง 2 แกนคือ X และ Y จากการมองลงไปที่ชิ้นงาน
ดังนั้น หากต้องการทำงาน 3 มิติ ด้วย AutoCAD ต้องเปลี่ยนมุมมองแบบ default มาเป็นมุมมองที่แสดงแกน Z ด้วย การเปลี่ยนมุมมองนี้จะใช้คำสั่ง vpoint แต่ค่อนข้างมีขั้นตอน ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน นอกจากนั้นในการทำงานจริงๆ เรามักนิยมใช้มุมซ้ำๆ โปรแกรมจึงเพิ่มความสะดวกด้วยการเพิ่มเครื่องมือ กลุ่ม Views ขึ้นมาเพื่อตอบความต้องการและเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ดังรูป
รายละเอียดเครื่องมือ กลุ่ม Views นี้ ช่วงแรกจะเป็นการมองแบบ 2มิติ ในด้านต่างๆ ประกอบด้วย Top,Bottom,Left,Right,Front,Back ตามมาด้วยการมอง 3มิติ แบบ Isometric Projection หรือภาพ 3มิติ ทางเทคนิคที่สามารถวัดขนาดกว้างยาวสูงได้ เหมือนภาพ 2มิติ ประกอบด้วย
SW Isometric / SE Isometric / NE Isometric / NW Isometric คงเกิดความสงสัยกันใช่ไหมครับว่า อักษรย่อ หน้าคำว่า Isometric แต่ละมุมมองนั้น มีความหมายถึงอะไร มาดูคำอธิบายกันครับ
การที่เราจะสื่อสารกับผู้อื่นเกี่ยวกับทิศทางในการมองวัตถุ สิ่งของใดๆ คงต้องหาข้ออ้างอิงมาใช้ประกอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันเสียก่อน เช่น เราบอกให้คนมองไปทางขวามือ ทุกคนก็จะเข้าใจตรงกัน และหันไปมองในทิศทาง ขวา ของตนเองพร้อมกัน เช่นเดียวกัน การบอกว่าเราจะมองวัตถุ 3มิติ จึงอ้างอิงกับสิ่งที่คนทั่วไปมีความเข้าใจตรงกัน นั่นก็คือ ทิศ นั่นเองครับ
สมมุติว่าเราวางชิ้นงานไว้แล้วมองลงมาจากระนาบบน(Top view)การบอกทิศทางจะเป็นดังรูป
นั่นหมายความว่า อักษรย่อ หน้า Isometric ก็คือ ชื่อของแต่ละทิศที่เป็นมุมมองด้าน ทะแยง 45องศา เข้าหาชิ้นงาน นั่นเอง ผมลองสร้างชิ้นงาน 3มิติขึ้นมา จากนั้นไปที่เครื่องมือกลุ่ม Views แล้วเลือกทีละมุมมองเริ่มด้วย
พบว่าการเปลี่ยนมุมมองเป็นไปตามหลักการนี้ สามารถทำให้เราเปลี่ยนมุมมองได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็จะเป็นมุมที่ถูกกำหนด(preset)ไว้แล้ว คือ ทำมุม 45 องศา กับระนาบ XY เสมอ หากต้องการเปลี่ยนแปลง ก็จะมีเครื่องมืออื่นมาช่วยเหลือซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อไปครับ
บทความยอดนิยมในปี 2016
การทำงานแบบ 3 มิติใน AutoCAD เกิดจากการประสานการทำงานระหว่าง ระบบแกน(Axis) ระบบพิกัด(Co ordinate System) และมุมมองชิ้นงาน(Viewpoint) ผู้ใช้ต้องเข้าใจสามเรื่องนี้ เบื้องต้น เพื่อสั่งการทำงานได้ถูกต้อง
เคยกล่าวถึง ระบบแกนและการเปลี่ยนมุมมองมาแล้วในบทก่อนๆ ตอนนี่มาถึงเรื่องของ ระบบพิกัด(Co ordinate System) กันบ้าง คำว่า พิกัด หมายถึงการบอกตำแหน่ง หรือจุด ใดๆที่เกิดจากการตัดกันของแกน ใน AutoCAD แสดงด้วยค่า x,y (2 มิติ) และ x,y,z (3 มิติ) หรือเรียกว่า พิกัดคาร์ทีเชียน
โปรแกรมจะเริ่มการลากเส้นหรือรูปร่างจาก พิกัดเริ่มต้น ไปยังพิกัดต่อไปเรื่อยๆ จนเสร็จ การระบุความยาว หรือระยะทางของเส้น ทำแบบต่อจากจุดเริ่มต้น เรียกว่า offset world เช่น เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ 10,0 (x=10,y=0)เพราะแกนในแนวนอนคือแกน X แล้ว enter จบคำสั่ง ก็จะได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย
นอกจาก AutoCAD ยังใช้ ระบบพิกัดแบบโพลาร์ ช่วยในการสร้างงานอีกด้วย ระบบพิกัดแบบนี้พูดง่ายๆคือการใช้มุมองศาเป็นผู้ช่วยกำหนดทิศทาง โดยมุมองศาจะเพิ่มขึ้นในทิศทวนเข็มนาฬิกาตามรูป
ระบบพิกัดเชิงขั้ว
ตัวอย่าง การระบุพิกัดแบบนี้ เช่น เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ 10,0 (x=10,0 องศา)เพราะแกนในแนวนอนทำมุม 0 องศาแล้ว enter จบคำสั่ง ก็จะได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย
ถ้าเราต้องการสร้างสีเหลี่ยมขนาด 10 x 20 หน่วย ด้วยเส้นตรงล่ะต้องทำอย่างไร
เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ @10,0 (x=10,0 องศา)ได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย ต่อด้วย ลากเส้นต่อไปในแนวตั้ง ยาว 20 หน่วย คือ @20,270 (y=20,270 องศา)ได้เส้นตรงแนวตั้งยาว 20 หน่วย
จากนั้นลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ @10,180 (x=10,180 องศา)ได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วยไปทางด้านซ้าย และลากเส้นต่อไปในแนวตั้ง ยาว 20 หน่วย คือ @20,90 (y=20,90 องศา)ได้เส้นตรงแนวตั้งยาว 20 หน่วย ก็จะได้รูปสี่เหลี่ยมปิด ขนาด 10×20 หน่วย
ติดตามตอน 2 ครับ
Region เป็นคำสั่งสร้างพื้นผิว จากชิ้นงาน 2 มิติ รูปปิด(Enclosed area)โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ(join) เป็นชิ้นเดียวกันก็ได้ ช่วยให้เกิดความสะดวกในการสร้างโมเดล solids เพราะผู้ใช้อาจใช้คำสั่งเขียนเส้นธรรมดา ในการขึ้นชิ้นงาน 3 มิติได้ เพียงแต่ต้องแน่ใจว่างานเป็นที่ต่อกันสมบูรณ์และเป็นรูปปิด(เช่น สีหลี่ยม วงกลม เป็นต้น)เท่านั้น ประโยชน์ของ region คือ มันสามารถนำไปใช้เสมือน solids ใช้กับเครื่องมือ Solid Editing ได้
เพื่อความเข้าใจ ผมจะลองทำการสร้าง region เป็นขั้นตอนดังนี้
เริ่มต้น ด้วยการสร้างรูป 2 มิติ จากคำสั่งพื้นฐาน 3 คำสั่งคือ Line(เส้น) Circle(วงกลม)และ Polygon(หลายเหลี่ยม)6 เหลี่ยม ให้เชื่อมต่อกันดังรูป จะเห็นว่ารูปงานที่ได้เป็นรูปปิด(Enclosed area) โดยสมบูรณ์ ไม่มีช่องว่างใดๆ ผมเลือก view : SW Isometric เพื่อมองแบบ 3 มิติ
หลังจากนั้น ไปที่เครื่องมือกลุ่ม Draw เลือกที่เครื่องมือ Region ดังรูป คำสั่งจะให้เราเลือกชิ้นงานที่ต้องการทำเป็น region ด้วยการเลือกเส้นทั้งหมด แสดงเป็นเส้นประ เมื่อ enter แล้วจะได้พื้นผิวขึ้นมามีสองส่วนแสดงเป็น region 1 และ region 2
คราวนี้ต้องการ เจาะช่องตรงพื้นที่ region 2 ออกไป ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้เครื่องมือ Solid Editing ,ให้ไปเลือกที่ Subtract เพื่อทำการตัดชิ้นงานตามขั้นตอนการ Subtract
ทำตามขั้นตอนการ Subtract แล้วจะได้ผล ดังรูป
ให้สังเกตว่า region จะทำหน้าที่เหมือน วัตถุผิวทึบตัน(solid) ทุกประการ แล้วยังสามารถทำงานต่อได้ภายใต้คำสั่งอื่นๆของ solids อีกด้วย เช่น การ Extrude หรือ การ Slice
ลองทดลองใช้คำสั่ง region กับรูปแบบงานอื่นๆดูเพื่อความเข้าใจมากขึ้นครับ
You must be logged in to post a comment.