GStarCAD2021:Interface

ชื่อ GStarCAD อาจไม่คุ้นหูนักสำหรับผู้ใช้โปรแกรม CAD เมืองไทย แต่หลังจากที่ผมได้ทดลองใช้ GStarCAD 2021 เวอร์ชั่นล่าสุดแล้วก็พบว่าซอฟต์แวร์ หรือ แอพพลิเคชั่น ตัวนี้ มีความสามารถที่จะใช้แทน CAD ที่คุ้นเคยได้เป็นอย่างดี เพราะว่าทั้งคำสั่งรวมถึงอินเตอร์เฟส หน้าตาเป็นที่คุ้นเคย ใช้เวลาไม่นานก็สามารถทำความเข้าใจและใช้งานได้

ตอนนี้ผมเลยอยากมาแนะนำ GStarCAD 2021 ให้ทุกท่านได้เห็น อินเตอร์เฟส เบื้องต้นกันให้ชัดๆเผื่อว่าท่านกำลังมองหา CAD ซอฟต์แวร์ ในงบประมาณที่ไม่สูง จะได้เห็นและติดตามเทคนิควิธีใช้คำสั่งจาก cadcoms.com ในตอนต่อๆไป

เมื่อเข้าสู่ GStarCAD 2021 หน้าจอจะเป็นดังรูป 1 พื้นที่ทำงานเป็น viewport เดียว คือ Model space 2 มิติ มีตาราง Grid พร้อมเส้น crosshair เพื่อกำหนดพิกัดแกน X,Y โดยมุมล่างซ้ายของ viewport จะเป็น UCS (User Co-ordinate System)Icon อยู่ในสถานะ World หรือปกติ

ด้านบน viewport จะมีกลุ่มแถบเครื่องมือ(Toolbar)ที่จะเลือกเปิด ปิด ได้ตามใจเรา เหนือขึ้นไปเป็นเมนู เริ่มจาก Home ไปถึง Collaboration

ด้านซ้าย viewport เป็นหน้าต่างแสดงรายละเอียด Properties

ส่วนด้านล่าง viewport เป็นแถบแสดงคำสั่ง(Command line) ตามมาด้วยแถบล่างสุดเป็นแถบเครื่องมือชุดสนับสนุนการทำงาน เช่น การบอกพิกัดปัจจุบันของ crosshair และ การสลับ Auto Object Snap เป็นต้น

รูป 1

หากต้องการเปิดไฟล์ (รูป 2)ให้เลือกไปที่ปุ่ม G (เลข1) จะมีรายการไฟล์ที่เพิ่งเปิดใช้งาน (Recent Documents)ผมเลือกไฟล์ลำดับ 2 หากไฟล์ที่จะใช้เป็นไฟล์เก่า ก็ให้เลือกที่คำสั่ง Open เพื่อไปยังพื้นที่เก็บ เหมือนกับแอพอื่นๆทั่วไป

รูป 2

ไฟล์ที่เปิดด้วย GStarCAD 2021 ก็คือไฟล์ dwg (drawing) นั่นเอง หมายความว่าเราสามารถเปิดไฟล์ CAD ที่มาจากแอพอื่น ได้ด้วย GStarCAD 2021 อย่างไฟล์ที่เปิด แสดงชื่อไฟล์บน tab ในรูป 3

รูป 3

นอกจากนั้น เรายังปรับแต่งสีอินเตอร์เฟสของ GStarCAD 2021 ได้ด้วยการเลือกเครื่องมือ Appearance ตำแหน่งตามลูกศรชี้ในรูป 4 เพื่อเลือกธีมสี การปรับแต่งธีมนั้นช่วยให้เหมาะกับการใช้งาน โดยธีมเริ่มต้นจะเป็นสีเทาๆดังที่เห็น

รูป 4

ผมเลือกเปลี่ยนไปใช้ ธีม Blue สีอินเตอร์เฟสของ GStarCAD 2021 เปลี่ยนเป็นสีฟ้าดัง รูป 5 เครื่องมือดูชัดเจน ตัวอักษรอ่านง่ายขึ้น แต่พื้นที่ viewport ยังคงเป็นสีเข้มเหมือนเดิม

รูป 5

คราวนี้มาลองขยับเม้าส์บ้าง การเลื่อนเม้าส์บน viewport คือการเลื่อน crosshair เพื่อระบุพิกัด XY หรือเพื่อคลิกเลือก(select) ชื้นงาน เหมือน CAD อื่น เมื่อเลื่อนเม้าส์เลย viewport ไปจะกลายเป็น ลูกศร เพื่อเลือกเครื่องมือ หรือคำสั่ง

บน viewport หากคลิกเม้าส์ปุ่มขวา จะมีเมนูขึ้นมา ดังรูป 6 เมนูแสดงคำสั่งที่ใช้บ่อย เช่น การ Pan Zoom / Undo Redo ผมลองเลือก Zoom ก็จะเป็นการขยายภาพ เข้าออกแบบทันที (Zoom Realtime)

รูป 6

นอกจากนั้น เราสามารถเลือกชิ้นงานใดๆที่เปิดขึ้นมาก็ได้ ด้วยการเลื่อนเม้าส์ไปที่ชิ้นงานนั้นแล้วคลิกเลือก(เม้าส์ปุ่มซ้าย) ชิ้นงานที่ถูกเลือกจะแสดงเป็นเส้นประให้สังเกตได้ ดังรูป 7(เลข1) ในขณะที่หน้าต่าง Properties แสดงคุณสมบัติต่างๆของชิ้นงานนั้น (เลข2) เช่น เลเยอร์ พิกัด XYZ เป็นต้น

รูป 7

ผมเปลี่ยนธีมกลับมาที่ค่าเริ่มต้น คราวนี้ผมลองใช้ปุ่ม Scroll ของเม้าส์ดูบ้าง การเลื่อน scroll ไปมาเท่ากับการ Zoom In/Out แบบ Realtime และการคลิก scroll ค้างไว้เท่ากับการ Pan ภาพไปตามทิศทางของการขยับเม้าส์ ดังรูป 8

รูป 8

เอาล่ะครับ นี่คือจุดเริ่มต้นของการทำความรู้จักกับ GStarCAD 2021 ดูแล้วไม่ยากเลยใช่ไหมครับ หากท่านมีพื้นฐานการใช้ CAD อื่นมาแล้ว อาจจะมีบางเครื่องมือและคำสั่งต่างกันบ้าง cadcoms.com จะนำมาเสนอในตอนต่อๆไป ฝากติดตามกันด้วยนะครับ

แล้วพบกันใหม่ครับ

#GStarCAD2021

หากท่านมีข้อสงสัยหรืออยากแนะนำเรื่องต่างๆสามารถสแกน QR แอดไลน์ของ cadcoms ได้เลยครับ

Line ID : cadcoms.com

Up Anywhere

Advertisement

ระบบพิกัด AutoCAD 3

จากเรื่อง ระบบพิกัด AutoCAD 2 ที่ผ่านมาผมขอขยายความเพื่อให้เข้าใจหลักการทำงาน และมาลองนำไปใช้ในการสร้างงานกันดูครับ

เราจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พิกัด 3 มิติแบบ ทรงกลม (Spherical Co-ordinate System) ระบุตำแหน่งโดย ระยะทางจากจุดกำเนิดของ UCS ปัจจุบันมุมจากแกน X ในระนาบ XY และมุมจากระนาบ XY

พิกัด 3 มิติแบบ ทรงกลม  คล้ายกับพิกัด polar ในแบบ 2D คุณหาจุดโดยการระบุระยะห่างจากจุดเริ่มต้นของ UCS ปัจจุบันมุมจากแกน X (ในระนาบ XY) และมุมของมันจากระนาบ XY แต่ละมุมก่อนหน้าด้วยวงเล็บมุมเปิด (<) เช่นใน รูปแบบต่อไปนี้:

@ความยาว < [มุมจากแกน X] < [มุมจากระนาบXY]

spherical CS

ในรูปประกอบด้านบน จุด 8 <60 <30 หมายถึงจุด 8 หน่วยจากจุดเริ่มต้นของ UCS ปัจจุบันในระนาบ XY 60 องศาจากแกน X ในระนาบ XY และ 30 องศาขึ้นแกน Z จากระนาบ XY ส่วนจุด 5 <45 <15 หมายถึงจุด 5 หน่วยจากจุดกำเนิด 45 องศาจากแกน X ในระนาบ XY และ 15 องศาจากระนาบ XY

หากเราต้องการสร้างพื้นผิวแบบ region เพื่อสร้างหลังคา 3 มิติ ขึ้นมาจะมีขั้นตอนดังนี้

ก่อนอื่นปรับมุมมองเป็น Isometric เพื่อให้สามารถเห็นแกน Z ผมเลือก SE Isometric แล้วสร้างรูป สีเหลี่ยมผืนผ้าด้วยคำสั่ง Line ดังรูป

spherical CS-1

จากนั้นก็สร้าง Line เริ่มต่อจาก endpoint ของรูปเหลี่ยม ให้จุดปลายเส้นอยู่ที่พิกัด @300<45<45 จะได้เส้นเอียงเข้าด้านในสี่เหลี่ยม ทำมุม 45 องศากับระนาบ XY ดังรูป

spherical CS-2

ให้สร้าง Line เริ่มต่อจาก endpoint ของรูปเหลี่ยมอีกด้านหนึ่ง ให้จุดปลายเส้นอยู่ที่พิกัด @300<135<45 จะได้เส้นเอียงเข้าด้านในสี่เหลี่ยม ทำมุม 45 องศากับระนาบ XY ดังรูป

spherical CS-3

ให้สังเกตว่า endpoint ของทั้งสองเส้นที่เอียงเข้าหากันจะอยู่ระนาบเดียวกัน

spherical CS-4

ให้ลาก Line ต่อ endpoint ทั้งสองเข้าด้วยกัน เป็นรูปปิด จะได้กรอบด้านเอียงข้างหนึ่งของหลังคานี้

spherical CS-5

เนื่องจากหลังคามีความสมมาตรกัน เราจึงใช้คำสั่ง mirror เพื่อทำงานเพิ่มได้เลยโดยไม่ต้องลากเส้นอีกโดยเลือก mirror line ให้อยู่กึ่งกลางของด้านยาว

spherical CS-7

จากนั้นสร้าง line เพื่อให้เกิดเป็นรูปปิดดังรูป

spherical CS-8

เพื่อให้เกิดพื้นผิวระนาบหลังคาที่สมบูรณ์ ใช้คำสั่ง region  สร้างระนาบให้ครบทุกด้าน

spherical CS-9

spherical CS-10

ผลงานที่ได้จะสามารถนำไปประกอบการทำงาน 3มิติ ได้ต่อไป ลองฝึกการกำหนดพิกัดแบบ Spherical ดูเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยจะทำให้เราสามารถสร้างงานที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ครับ

Empower your Design

www.cadcoms.com

AutoCAD: Isometric view

การทำงานแบบ 3 มิติ ด้วย AutoCAD จะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เพราะโปรแกรมจะเริ่มต้นการทำงานในมุมมอง(viewpoint)แบบ 2 มิติจากด้านบน(Top view) คือเห็นเฉพาะแกนในการทำงานเพียง 2 แกนคือ X และ Y จากการมองลงไปที่ชิ้นงาน

ดังนั้น หากต้องการทำงาน 3 มิติ ด้วย AutoCAD ต้องเปลี่ยนมุมมองแบบ default มาเป็นมุมมองที่แสดงแกน Z ด้วย การเปลี่ยนมุมมองนี้จะใช้คำสั่ง vpoint แต่ค่อนข้างมีขั้นตอน ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน นอกจากนั้นในการทำงานจริงๆ เรามักนิยมใช้มุมซ้ำๆ โปรแกรมจึงเพิ่มความสะดวกด้วยการเพิ่มเครื่องมือ กลุ่ม Views ขึ้นมาเพื่อตอบความต้องการและเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ดังรูป

iso-01

รายละเอียดเครื่องมือ กลุ่ม Views นี้ ช่วงแรกจะเป็นการมองแบบ 2มิติ ในด้านต่างๆ ประกอบด้วย Top,Bottom,Left,Right,Front,Back ตามมาด้วยการมอง 3มิติ แบบ Isometric Projection หรือภาพ 3มิติ ทางเทคนิคที่สามารถวัดขนาดกว้างยาวสูงได้ เหมือนภาพ 2มิติ ประกอบด้วย

SW Isometric / SE Isometric / NE Isometric / NW Isometric คงเกิดความสงสัยกันใช่ไหมครับว่า อักษรย่อ หน้าคำว่า Isometric แต่ละมุมมองนั้น มีความหมายถึงอะไร มาดูคำอธิบายกันครับ

ทิศทางในการมองทั้งสี่

การที่เราจะสื่อสารกับผู้อื่นเกี่ยวกับทิศทางในการมองวัตถุ สิ่งของใดๆ คงต้องหาข้ออ้างอิงมาใช้ประกอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันเสียก่อน เช่น เราบอกให้คนมองไปทางขวามือ ทุกคนก็จะเข้าใจตรงกัน และหันไปมองในทิศทาง ขวา ของตนเองพร้อมกัน เช่นเดียวกัน การบอกว่าเราจะมองวัตถุ 3มิติ จึงอ้างอิงกับสิ่งที่คนทั่วไปมีความเข้าใจตรงกัน นั่นก็คือ ทิศ นั่นเองครับ

สมมุติว่าเราวางชิ้นงานไว้แล้วมองลงมาจากระนาบบน(Top view)การบอกทิศทางจะเป็นดังรูป

iso-02

นั่นหมายความว่า อักษรย่อ หน้า Isometric ก็คือ ชื่อของแต่ละทิศที่เป็นมุมมองด้าน ทะแยง 45องศา เข้าหาชิ้นงาน นั่นเอง ผมลองสร้างชิ้นงาน 3มิติขึ้นมา จากนั้นไปที่เครื่องมือกลุ่ม Views แล้วเลือกทีละมุมมองเริ่มด้วย

SE Isometric

iso-03

SW Isometric

iso-04

NE Isometric

iso-05

NW Isometric

iso-06

พบว่าการเปลี่ยนมุมมองเป็นไปตามหลักการนี้ สามารถทำให้เราเปลี่ยนมุมมองได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็จะเป็นมุมที่ถูกกำหนด(preset)ไว้แล้ว คือ ทำมุม 45 องศา กับระนาบ XY เสมอ หากต้องการเปลี่ยนแปลง ก็จะมีเครื่องมืออื่นมาช่วยเหลือซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อไปครับ

Empower your Design

www.cadcoms.com

ระบบพิกัด AutoCAD 1

บทความยอดนิยมในปี 2016

www.cadcoms.com

การทำงานแบบ 3 มิติใน AutoCAD เกิดจากการประสานการทำงานระหว่าง ระบบแกน(Axis) ระบบพิกัด(Co ordinate System) และมุมมองชิ้นงาน(Viewpoint) ผู้ใช้ต้องเข้าใจสามเรื่องนี้ เบื้องต้น เพื่อสั่งการทำงานได้ถูกต้อง

เคยกล่าวถึง ระบบแกนและการเปลี่ยนมุมมองมาแล้วในบทก่อนๆ ตอนนี่มาถึงเรื่องของ ระบบพิกัด(Co ordinate System) กันบ้าง คำว่า พิกัด หมายถึงการบอกตำแหน่ง หรือจุด ใดๆที่เกิดจากการตัดกันของแกน ใน AutoCAD แสดงด้วยค่า x,y (2 มิติ) และ x,y,z (3 มิติ) หรือเรียกว่า พิกัดคาร์ทีเชียน

โปรแกรมจะเริ่มการลากเส้นหรือรูปร่างจาก พิกัดเริ่มต้น ไปยังพิกัดต่อไปเรื่อยๆ จนเสร็จ การระบุความยาว หรือระยะทางของเส้น ทำแบบต่อจากจุดเริ่มต้น เรียกว่า offset world เช่น เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ 10,0 (x=10,y=0)เพราะแกนในแนวนอนคือแกน X แล้ว enter จบคำสั่ง ก็จะได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย

นอกจาก AutoCAD ยังใช้ ระบบพิกัดแบบโพลาร์ ช่วยในการสร้างงานอีกด้วย ระบบพิกัดแบบนี้พูดง่ายๆคือการใช้มุมองศาเป็นผู้ช่วยกำหนดทิศทาง โดยมุมองศาจะเพิ่มขึ้นในทิศทวนเข็มนาฬิกาตามรูป

ระบบพิกัดเชิงขั้ว ระบบพิกัดเชิงขั้ว

ตัวอย่าง การระบุพิกัดแบบนี้ เช่น เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ 10,0 (x=10,0 องศา)เพราะแกนในแนวนอนทำมุม 0 องศาแล้ว enter จบคำสั่ง ก็จะได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย 

ถ้าเราต้องการสร้างสีเหลี่ยมขนาด 10 x 20 หน่วย ด้วยเส้นตรงล่ะต้องทำอย่างไร

เริ่มต้นที่จุด 0,0 (x=0,y=0) ลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ @10,0 (x=10,0 องศา)ได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วย ต่อด้วย ลากเส้นต่อไปในแนวตั้ง ยาว 20 หน่วย คือ @20,270 (y=20,270 องศา)ได้เส้นตรงแนวตั้งยาว 20 หน่วย

จากนั้นลากเส้นต่อไปในแนวนอน ยาว 10 หน่วย คือ @10,180 (x=10,180 องศา)ได้เส้นตรงแนวนอนยาว 10 หน่วยไปทางด้านซ้าย และลากเส้นต่อไปในแนวตั้ง ยาว 20 หน่วย คือ @20,90 (y=20,90 องศา)ได้เส้นตรงแนวตั้งยาว 20 หน่วย ก็จะได้รูปสี่เหลี่ยมปิด ขนาด 10×20 หน่วย

ติดตามตอน 2 ครับ

View original post

AutoCAD : Region

region-01

Region เป็นคำสั่งสร้างพื้นผิว จากชิ้นงาน 2 มิติ รูปปิด(Enclosed area)โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ(join) เป็นชิ้นเดียวกันก็ได้ ช่วยให้เกิดความสะดวกในการสร้างโมเดล solids เพราะผู้ใช้อาจใช้คำสั่งเขียนเส้นธรรมดา ในการขึ้นชิ้นงาน 3 มิติได้ เพียงแต่ต้องแน่ใจว่างานเป็นที่ต่อกันสมบูรณ์และเป็นรูปปิด(เช่น สีหลี่ยม วงกลม เป็นต้น)เท่านั้น ประโยชน์ของ region คือ มันสามารถนำไปใช้เสมือน solids ใช้กับเครื่องมือ Solid Editing ได้

เพื่อความเข้าใจ ผมจะลองทำการสร้าง region เป็นขั้นตอนดังนี้

region-02

เริ่มต้น ด้วยการสร้างรูป 2 มิติ จากคำสั่งพื้นฐาน 3 คำสั่งคือ Line(เส้น) Circle(วงกลม)และ Polygon(หลายเหลี่ยม)6 เหลี่ยม ให้เชื่อมต่อกันดังรูป จะเห็นว่ารูปงานที่ได้เป็นรูปปิด(Enclosed area) โดยสมบูรณ์ ไม่มีช่องว่างใดๆ ผมเลือก view : SW Isometric เพื่อมองแบบ 3 มิติ

region-03

หลังจากนั้น ไปที่เครื่องมือกลุ่ม Draw เลือกที่เครื่องมือ Region ดังรูป คำสั่งจะให้เราเลือกชิ้นงานที่ต้องการทำเป็น region ด้วยการเลือกเส้นทั้งหมด แสดงเป็นเส้นประ เมื่อ enter แล้วจะได้พื้นผิวขึ้นมามีสองส่วนแสดงเป็น region 1 และ region 2

region-04region-05

คราวนี้ต้องการ เจาะช่องตรงพื้นที่ region 2 ออกไป ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้เครื่องมือ Solid Editing ,ให้ไปเลือกที่ Subtract เพื่อทำการตัดชิ้นงานตามขั้นตอนการ Subtract

region-06aregion-06b

ทำตามขั้นตอนการ Subtract แล้วจะได้ผล ดังรูป

region-07

ให้สังเกตว่า region จะทำหน้าที่เหมือน วัตถุผิวทึบตัน(solid) ทุกประการ แล้วยังสามารถทำงานต่อได้ภายใต้คำสั่งอื่นๆของ solids อีกด้วย เช่น การ Extrude หรือ การ Slice

REGION-08.png

ลองทดลองใช้คำสั่ง region กับรูปแบบงานอื่นๆดูเพื่อความเข้าใจมากขึ้นครับ

 

Empower your Design

www.cadcoms.com

AutoCAD: Quick Calc

qc-01

เคยไหมครับ ที่เวลาทำงานด้วย AutoCAD แล้ว จำเป็นต้องใช้ เครื่องคิดเลขขึ้นมา แต่ต้องออกไปเปิดโปรแกรมอื่นเพิ่มเติม ทำให้ขัดจังหวะเวลาทำงาน เรื่องนี้ไม่ยากครับ เพียงแค่ พิมพ์ คำสั่งย่อ(hotkey) QC ลงไปที่ command line ก็จะเป็นการเรียกเปิดเครื่องมือ Quick Calculator หรือเครื่องคิดเลข ดังรูป สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องออกจากโปรแกรมครับ 

 

Empower your Design

http://www.cadcoms.com

AutoCAD:Annotate-Dimension การบอกขนาด ตอนที่ 1

  1. เพราะ AutoCAD เป็นโปรแกรมกลุ่มเวคเตอร์(Vector) ใช้ประโยชน์ในการเขียนแบบทางเทคนิคเป็นหลัก การบอกขนาดชิ้นงานจึงมีความสำคัญและมีกลุ่มเครื่องมือเพื่อเรื่องการบอกขนาดและรายละเอียดงานโดยเฉพาะคือกลุ่มเครื่องมือ Annotate:Dimension
  2. dim-01

โดยในกลุ่ม Dimension ยังมีเครื่องมือแยกออกไปตามการใช้บอกขนาด ประเภทต่างๆประกอบด้วย

dim-01-B

  1. Linear  บอกขนาดในแนวเส้นตรง(ทั้งแนวตั้งและแนวนอน)
  2. Aligned บอกขนาดในแนวขนานไปกับชิ้นงาน ทุกระนาบ
  3. Angular บอกขนาดมุม องศา ระหว่างชิ้นงาน 2 ชิ้น
  4. Arc Length บอกขนาดความยาวของส่วนโค้ง(Arc)จากจุดปลายของส่วนโค้ง
  5. Radius บอกขนาดรัศมีวงกลม หรือส่วนของวงกลม
  6. Diameter บอกขนาดผ่าศูนย์กลางวงกลม หรือส่วนของวงกลม
  7. Jogged บอกขนาดแบบย่อส่วน ใช้ในกรณีเช่น เส้นรัศมีอยู้ไกลจากชิ้นงานมาก
  8. Ordinate การบอกขนาดที่อ้างอิงจากจุดเริ่มต้นที่กำหนดไว้

เพื่อความเข้าใจ ดูรูปประกอบแสดง Dimension แบบต่างๆด้านล่างdim-04

ตอนต่อไป จะมาดูกันว่าในการใช้ Dimension ต้องรู้วิธีการตั้งค่าอะไรบ้าง ติดตามกันให้ได้ครับ

Empower your Design
http://www.cadcoms.com

AutoCAD: Array-Polar

การจัดเรียงชิ้นงานเป็นหมวดหมู่ ทำด้วยคำสั่ง Array (กลุ่มคำสั่ง Modify) ดังรูป

AR01

คำสั่ง Array มีทางเลือก 2 ทางคือ 1.Rectangular การจัดเรียงแบบแถวและแนว 2.Polar การจัดเรียงแบบวงกลม

AR-P-01

สำหรับตอนนี้จะกล่าวถึง Polar Array โดยจะทดลองทำการจัดเรียงแบบวงกลม เริ่มด้วยการสร้าง วงกลม(Circle) ขึ้นมา 2 ชิ้นงาน ดังรูป

AR-P-02

เมื่อเลือกคำสั่ง Array แล้วจะเกิดทางเลือกตามรูป

AR-P-03

ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

1.เลือก Polar Array ก่อน

2.คลิกที่หัวข้อ Select Objects จากนั้นกลับมาเลือกที่ชิ้นงานที่ต้องการจัดเรียง

3.กำหนดจุดศูนย์กลางในการจัดเรียง(Center point) ให้เลือก Center ของวงกลมใหญ่

4.มาที่หัวข้อ Total number of items เพื่อใส่จำนวนที่ต้องการ

5.กำหนดมุมรวมในการจัดเรียง(Angle to fill) ในกรณีนี้ใส่ 360 หมายความว่าจัดเรียงให้อยู่ภายในมุม 360 องศาหรือเท่ากับ 1 รอบวงกลมนั่นเอง

เมื่อ enter แล้วจะได้ผลงานดังรูป

AR-P-04

เป็นคำสั่งที่ใช้บ่อยมากครับ ยังมี Array / Rectangular อีกทางเลือกหนึ่ง แล้วจะนำมาเสนอต่อไปครับ

Empower your Design

www.cadcoms.com

ตัดชิ้นงานด้วยคำสั่ง Subtract

ชิ้นงาน Solids ใน ACAD 3 มิติ นั้นมีกลุ่มคำสั่งเฉพาะในการปรับแต่ง(modify)ตอนนี้จะกล่าวถึงการใช้คำสั่ง Subtract ในกลุ่ม Solids Editing ตำแหน่งเครื่องมือ(ใน CAD 2010) ดังรูป

ST-01

จากรูปจะเห็นว่าขั้นตอนการ subtract หรือตัดส่วนของชิ้นงาน จะต้องมี 1.ชิ้นงานหลักที่จะเก็บไว้ และ 2.ชิ้นงานส่วนที่จะนำมาเป็นตัวตัดออก เสมอ และที่สำคัญคือทั้งสองส่วนนี้จะต้องตัดกันจริง คือมีส่วนของงานที่ซ้อนทับกันอยู่ จึงจะสามารถได้ผลงานตามที่ต้องการ

ลองสร้างชิ้นงาน solids 3 มิติ ขึ้นมา 3 ชิ้น เป็นกล่องสีเขียว 1 ชิ้น และกล่องสีแดง 2 ชิ้น วางตำแหน่งตามรูป

ST-00

กำหนดให้กล่องสีเขียวเป็น 1.ชิ้นงานหลักที่จะเก็บไว้ ส่วนกล่องสีแดง คือ 2.ชิ้นงานส่วนที่จะนำมาเป็นตัวตัดออก 

จากนั้นเลือกคำสั่ง Subtract แล้วเลือกชิ้นที่ 1 ก่อนแล้ว enter เพื่อจบขั้นตอนการเลือก

ต่อมาให้เลือกที่ กล่อง 2 (จนครบทั้ง 2 ชิ้นงาน) เพื่อเป็นตัวตัด แล้ว enter ได้ผลดังรูป

ST-02

จะเห็นว่ากล่อง 2 หายไปเหลือแต่กล่อง 1 ที่โดนตัดตามขนาดของกล่อง 2 ที่ศรชี้

หลักของ subtract คือการลบออก นั่นคือต้องมีตัวตั้ง(ซึ่งขนาดต้องใหญ่กว่า) และตัวลบ(ขนาดเล็กกว่า และมีจำนวนมากกว่า 1 ชิ้นก็ได้)นั่นเองครับ ลองทำดู

 

Empower your Design

www.cadcoms.com

AutoCAD:กฏมือขวา ข้อที่ 2

keep-calm-and-use-the-right-hand-rule-9

คงยังจำเรื่อง กฏมือขวา ข้อที่ 1 ได้อยู่นะครับ วันนี้มาต่อกันด้วยเรื่องของ กฏมือขวา ข้อที่ 2 กัน ก่อนอืนชูมือขวาขึ้นมาแล้วกำมือเหมือนยกนิ้วโป้งขึ้น(Thumb Up) ดังรูป

Thumbs up

Thumbs up

เมื่อเรายกหัวแม่มือขึ้น ให้เปรียบเสมือน แกนหมุน ส่วนปลายนิ้วทั้ง 4 เปรียบเสมือนทิศทางในการหมุน ทิศทางเดียวกับการกำมือ มีค่าเป็น บวก + ทิศทางตรงข้ามกับการกำมือ มีค่าเป็น ลบ –

rhr

กฏนี้ใช้เมื่อต้องการหมุน UCS ให้ไปในทิศทางที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น ต้องการหมุน UCS จากตำแน่ง ปกติให้ไปขนานเพื่อทำงานบนด้าน A ดังรูป

UCS-1-1

เราจะต้องหมุน UCS เพื่อจับแกน Y ตั้งขึ้น ด้วยการใช้คำสั่ง UCS เลือกแกน X เป็นแกนหมุน ตามกฏมือขวา หัวแม่มือชี้ไปทิศทางเดียวกับแกน X การจับ Y ตั้งต้องใส่ค่ามุม 90 องศาเป็นบวก เนื่องจากการหมุนเป็นทิศเดียวกับปลายนิ้วทั้ง 4 เสร็จแล้วได้ผลดังรูป

UCS-1-2

พบว่า UCS ยังไม่ขนานกับด้าน A เราจะต้องหมุน UCS อีกครั้งเพื่อเปลี่ยนแกน X ไปทางขวา ด้วยการใช้คำสั่ง UCS เลือกแกน Y เป็นแกนหมุน ตามกฏมือขวา หัวแม่มือชี้ไปทิศทางเดียวกับแกน Y การเลื่อน X ตั้งต้องใส่ค่ามุม 90 องศาเป็นลบ เนื่องจากการหมุนเป็นทิศสวนทางกับปลายนิ้วทั้ง 4 เสร็จแล้วได้ผลดังรูป

UCS-1-3

พบว่าUCS หมุนมาขนานกับด้าน A ทำให้สามารถทำงานบนด้านนี้ได้ เรียกว่าระนาบทำงาน ลองสร้างเพื่อให้เกิดผลงานดังรูป

การหมุน UCS ต้องอาศัยการฝึกทำบ่อยๆเพื่อความเข้าใจ อาจลองสร้างรูปทรงแล้วหมุน UCS เพื่อไปทำงานตามระนาบต่างๆดูครับ

Empower your Design

www.cadcoms.com